วิธีเรียง น ศัพท์
๑. เมื่อปฏิเสธกิริยาอาขยาตให้คงรูปไว้ ไม่นิยมแปลงเป็น อ หรือเป็น อน ถ้าแปลงถือว่าเป็นผิดร้ายแรง เช่น
๒. เมื่อปฏิเสธกับกิริยาตูนาทิปัจจัย เช่น ตฺวา ปัจจัย เป็นต้น และปฏิเสธ อนฺต มาน ปัจจัย นิยมแปลงเป็น อ หรือเป็น อน เช่น
๓. เมื่อปฏิเสธกิริยากิตก์ที่คุมพากย์ได้ คือ อนิย ตพฺพ ต ปัจจัย จะแปลงหรือคงไว้ก็ได้ เช่น
๔. เมื่อปฏิเสธศัพท์นามหรือศัพท์คุณ นิยมแปลงเป็น อ หรือ อน เช่น อพฺราหมฺโณ อภาโว อนริโย อกาตุํ เป็นต้น
๕. เมื่อปฏิเสธกิริยาตัวใด ให้เรียงไว้หน้ากิริยาตัวนั้น เช่น
๖. เมื่อปฏิเสธทั้งประโยค นิยมเรียงไว้ต้นประโยค เช่น
๗. เมื่อปฏิเสธกิริยาตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป น ตัวแรกนิยมสนธิกับ เอว ศัพท์เป็น เนว เช่น
๘. เมื่อมาคู่กับกิริยาอาขยาตที่ขึ้นต้นด้วย “สระ” หรือที่มีอักษร “อ” นำหน้า เช่น อกาสิ อโหสิ อาคจฺฉติ เป็นต้น นิยมสนธิกับ กิริยานั้นเลย หรือเมื่อมาคู่กับกิริยากิตก์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ หากไม่แปลง เป็น อน ก็นิยมสนธิเข้าด้วยกัน เช่น
การเรียง น ศัพท์ปฏิเสธในประโยค มีข้อควรสังเกตอยู่ ๒ ประการ ซึ่งเป็นข้อสังเกตพิเศษ คือ
๑. เรียง น ที่ปฏิเสธทั้งประโยคไว้ต้นประโยค ในกรณีใด ข้อนี้ มีข้อที่พอสังเกตได้ คือ ประโยคที่ต้องการเน้นความปฏิเสธเด็ดขาด และปฏิเสธทุกศัพท์ในประโยค ทั้งนามและกิริยา อย่างนี้จึงวาง น ไว้ ต้นประโยค ดังตัวอย่างประโยคว่า
ในประโยคนี้ น ศัพท์ อาจปฏิเสธได้ทุกศัพท์ เช่น
จะเห็นได้ว่า เนื้อความก็ออกมาในรูปเดียวกันทั้งหมด แม้ประโยคอื่นก็พึงเทียบเคียงโดยนัยนี้
๒. น ที่ปฏิเสธมาคู่กัน ๒ ตัว ตัวแรกสนธิกับ เอว เป็น เนว นั้น นิยมเรียงตัวประธานที่เข้ากับกิริยาทั้งสองไว้ก่อนแล้วจึงวาง เนว ศัพท์แรกลงไปหาไม่แล้วประโยคหลังจะลอย หาตัวประธานไม่ได้ เพราะ เนว คลุมประโยคไว้ทั้งหมดแล้ว เช่นตัวอย่าง
ถ้าเรียงใหม่ว่า อมฺม เนว ตยา กตํ สสฺสํ อจฺโจทเกน นสฺสติ, น อโนทเกน นสฺสติ ฯ ความก็จะกลายเป็นว่า ข้าวกล้าที่เธอปลูก แล้วย่อมไม่เสียเพราะนามาก ประโยคหลังเลยทำให้ดูเหมือนขาดประธาน แม้จะพอเดาออกก็ตาม พึงดูประโยคต่อไปนี้เทียบเคียง
ส่วนตัวอย่างสุดท้ายว่า เนว พฺราหฺมณิยา น มยฺหํ ปารุปนํ ภวิสฺสติฯ (๕/๑) ท่านเรียงตัวประธานและกิริยาไว้ท้าย แต่ก็มีคติเหมือนเรียงไว้ต้น จะเรียงเสียใหม่ว่า
ข้อสังเกต ๒ ประการนี้ ขอนักศึกษาได้ใคร่ครวญดูในปกรณ์ทั้ง หลายเทียบเคียง เพื่อความเปรื่องปราชญ์แห่งปัญญา
วิธีเรียง จ ศัพท์
จ ศัพท์ ที่ท์าหน้าที่ควบบทหรือควบพากย์นั้น มีวิธีการเรียงสลับ ซับซ้อนและยุ่งยากที่สุดศัพท์หนึ่ง การวางศัพท์นี้ลงในประโยคต้อง พิถีพิถันและให้ถูกต้องชัดเจนที่สุด หากว่าวางผิดที่หรือวางคลุมเครือแล้ว จะทำให้เนื้อความเปลี่ยนไปได้ นักศึกษาจึงควรทำความเข้าใจในการ เรียงศัพท์นี้ ด้วยการสังเกตดูที่ท่านใช้อยู่ทั่วๆ ไป
รวมทั้งสังเกตข้อพิเศษยกเว้น อันต่างจากกฎเกณฑ์ด้วย ก็จะทำให้เข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างถูกต้อง ถ่องแท้ และเรียงได้ถูกต้องในเมื่อจะต้องแต่งประโยคบาลีเอง
วิธีเรียง จ ศัพท์ พอประมวลได้ ดังนี้
๑. เมื่อควบบท นิยมวางไว้หลังบทที่ตนควบทุกตัวไป หรือจะเรียงไว้เฉพาะบทสุดท้ายก็ได้ เช่น
๒. เมื่อควบบทที่เป็นประธานเอกพจน์หลายบทในประโยค ซึ่งมีกิริยาคุมพากย์ กิริยาระหว่าง และวิกติกัตตาร่วมกัน มีอำนาจให้กิริยาเหล่านั้นและวิกติกัตตานั้น เป็นพหูพจน์ได้ เช่น
แต่ในกรณีอย่างนี้ ถ้าใช้กิริยากิตก์เป็นกิริยาคุมพากย์ นิยมคงรูปกิริยานั้นเป็นเอกพจน์ไว้และให้มีลิงค์อนุวัตรตามบทประธานที่อยู่ ใกล้ชิดกิริยาที่สุด เช่น
๓. เมื่อควบบทที่มีบทขยายหลายๆ ศัพท์ก็ดี ควบพากย์ก็ดี มีวิธีเรียงได้หลายแบบ ดังนี้
๓.๑ เรียงไว้เป็นที่ ๒ ของทุกตอนไป เช่น
: โส, ปกติยา จ คนฺตุกาโม, ตญฺจ โสตุกาโม, อโหสิ ฯ
: โส, เคเห จ สพฺพกมฺมานิ กโรติ, อตฺตโน จ มาตรํ ปฏิชคฺคติ ฯ
๓.๒ เรียงไว้เป็นที่ ๒ เฉพาะในตอนสุดท้าย เช่น
: โส, ปกติยา คนฺตุกาโม ตญฺจ ธมมํ โสตุกาโม, อโหสิ ฯ
: โส, เคเห สพฺพกมฺมานิ กโรติ, อตฺตโน จ มาตรํ ปฏิชคฺคติ ฯ
๓.๓ เรียงไว้ท้ายสุดของทุกตอน เช่น
: โส, ปกติยา คนฺตุกาโม จ, ตํ ธมฺมํ โสตุกาโม จ, อโหสิ ฯ
: โส, เคเห สพฺพกมฺมานิ กโรติ จ, อตฺตโน มาตรํ ปฏิชคฺคติ จ ฯ
๓.๔ เรียงไว้ท้ายสุดของตอนต้น และเป็นที่ ๒ ของตอนท้าย เช่น
: โส, ปกติยา คนฺตุกาโม จ, ตญฺจ ธมฺมํ โสตุกาโม, อโหสิ ฯ
: โส, เคเห สพฺพกมฺมานิ กโรติ จ, อตฺตโน จ มาตรํ ปฏิชคฺคติ ฯ
การนับศัพท์ในประโยค เหล่านี้ ให้กันตัวประธานออกนอกวง เสีย ก่อน เพราะตัวประธานทำหน้าที่สัมพันธ์เข้ากับทุกๆ ตอน หากนับเข้าพวกโดยเฉพาะในตอนหน้าด้วย จะทำให้ประโยคหลังลอย คือ ขาดประธาน เช่นตัวอย่างต่อไปนี้ ซึ่งเรียง จ ศัพท์ไว้เป็นที่ ๒ ของทุกตอน
: โส จ เคเห สพฺพกมฺมานิ กโรติ, อตฺตโน จ มาตรํ ปฏิชคฺคติ ฯ (๑/๔๒)
ทั้งนี้รวมทั้งบทหลายๆ บท ซึ่งมีบทขยาย เช่น สามีสัมพันธะ อย่างเดียวกัน ต้องวางบทขยายนั้นไว้ข้างหน้าสุดของบทแรก ถ้าวาง ไว้หน้าบทหลังตามคำแปลในพากย์ไทย จะทำให้ความไม่ชัดเจน เช่น
ความไทย : มือ เท้า ตา หู จมูก และปากของเด็กนั้น มิได้ อยู่ในที่ปกติ
เป็น : ตสฺส หตฺถปาทา จ อกฺขีนิ จ กณฺณา จ นาสา จ มุขญฺจ น ยถาฏฺฐาเน อเหสุํ ฯ (๓/๑๒๑)
ไม่ใช่ : หตฺถปาทา จ อกฺขีนิ จ กณฺณา จ นาสา จ ตสฺส มุขญฺจ น ยถาฏฺฐาเน อ เหสุํ ฯ
๔. เมื่อมี จ ศัพท์ควบหลายตัว จ ศัพท์ตัวแรกนิยมสนธิกับ เอว เป็น เจว เหมือน น ศัพท์ เช่น
๕. เมื่อ จ ศัพท์มีหน้าที่ควบตัวประธานที่เป็นเอกพจน์ตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป นิยมประกอบกิริยาเป็นพหูพจน์ เช่น
แต่ถ้าประธานนั้นๆ มีเนื้อความบ่งว่าต่างแยกกันทำ หรือแยกกันเป็น แม้จะใช้กิริยาร่วมกัน ก็ไม่ต้องเปลี่ยนกิริยาเป็นพหูพจน์ คงให้มีรูปเป็นเอกพจน์ตามเติม เช่น
๖. เมื่อ จ ศัพท์ควบกับศัพท์ที่ลงท้ายด้วย 0 (นิคคหิต) นิยม สนธิกับศัพท์นั้น เช่น
อ้างอิง
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710