7.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (นิบาต)

 

วิธีเรียงนิบาต

       นิบาตทั้งหลาย เป็นส่วนสำคัญในประโยคที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ให้มีเนื้อความเกี่ยวเนื่องกัน ทำให้เนื้อความสละสลวยขึ้น ทั้งยังทำให้ เนื้อความชัดเจน แน่นอนอีกด้วย เพราะนิบาตบางอย่างสามารถเน้น ข้อความตอนนั้นๆ ได้

       ก่อนอื่นขอแยกนิบาตออกเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ คือ

       ๑. นิบาตที่เรียงไว้ต้นประโยคได้ ได้แก่ นิบาตพวก สเจ ยทิ นนุ อโห ยาว ตาว ยถา ตถา เอวํ หนฺท อถ อถโข อถวา อปฺเปวนาม เสยฺยถา กิญฺจาปิ เป็นต้น นิบาตเหล่านี้ นิยมเรียงไว้ต้นประโยค

       ๒. นิบาตที่เรียงต้นประโยคไม่ได้ ได้แก่ นิบาตพวก หิ จ ปน กิร ขลุ สุทํ นุ เจ โข ว วา ปิ ตุ เป็นต้น นิบาตเหล่านี้จะเรียง ไว้ต้นประโยคไม่ได้เด็ดขาด ถือเป็นเรื่องผิดร้ายแรงมาก จะต้องมีบท อื่นนำหน้าแม้เพียงบทเดียวก็ใช้ได้ ส่วนมากก็เรียงไว้เป็นที่ ๒ในประโยค แต่ถ้าบทหน้ามีเนื้อความต้องแปลรวบ หรือจำเป็นอย่างอื่น จะต้องเลื่อนนิบาต เช่น หิ จ ปน กิร เป็นต้น ออกไป แต่ก็นับว่าอยู่ เป็นที่ ๒ เช่นกัน เพราะบทแปลรวบแม้มีหลายศัพท์ก็เท่ากับบทหนึ่งเท่านั้น เช่น

  • : อิตฺถีสทฺโท วิย หิ อญฺโญ สทฺโท ปุริสานํ สกลสรีรํ ผริตฺวา ฐาตุํ สมตฺโถ นาม นตฺถิ ฯ (๑/๑๔)

       นิบาตทั้งสองพวกนี้ นักศึกษาต้องทำความเข้าใจและต้องจำให้ ได้ว่านิบาตไหนขึ้นต้นประโยควางไว้ต้นประโยคได้ นิบาตไหนวางไว้ต้น ประโยคไม่ได้ โดยการสังเกตจากที่ท่านใช้อยู่ในปกรณ์ต่างๆ เช่น ธรรมบท เป็นต้น

       ข้อบกพร่องอย่างสำคัญของนักศึกษาเรื่องการเรียงนิบาตนี้ คือ เรียงนิบาตที่ขึ้นต้นประโยคไม่ได้ไว้ในตำแหน่งต้นประโยค เช่น

ความไทย : ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่ง เป็นคนมีศรัทธา

เรียงไทย : กิร สาวตฺถิยํ เอโก อุปาสโก สทฺโธ โหติ ฯ (ผิด)

        เรียงนิบาตขึ้นต้นอย่างนี้ส่อถึงความเป็นผู้ไม่มีครู ไม่รู้หลักการ เรียง ในประโยคชั้นสูงๆ อาจถูกปรับเป็นตกได้ จึงต้องสังเกตและใช้ ให้เป็น

        อนึ่ง เรื่องการนับศัพท์ในประโยคก่อนจะวางนิบาตนั้นควรนับให้ ถูก คือ บทอาลปนะทั้งหมดไม่นับเป็นหนึ่ง เพราะฉะนั้น จะเรียงนิบาต ที่ต้องเรียงไวในตำแหน่งที่ ๒ ไว้หลังอาลปนะ โดยนับบทอาลปนะเป็นหนึ่งอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เช่น

ความไทย  : ก็ท่านขอรับ กระผมไม่รู้ได้ทำไปแล้ว

ถูก           :     อหํ ปน ภนฺเต อชานิตฺวา อกรึ ฯ

ผิด           :    ภนฺเต ป อหํ อชานิตฺวา อกรึ ฯ

 

ความไทย   :      พ่อเอ๋ย ถึงมือเท้าของตัวของคนแก่ ก็ยังไม่เชื่อฟัง

ถูก            :     ตาต มหลฺลกสฺส หิ อตฺตโน หตฺถปาทาปิ อนสฺสวา โหนฺติฯ

ผิด            :    ตาต หิ มหลฺลกสฺส อตฺตโน หตฺถปาทาปิ อนสฺสวา โหนฺติฯ

       

        แม้บทอาลปนะอื่น ก็พึงเทียบเคียงอย่างนี้

        ศัพท์นามหรือศัพท์กิริยาทั้งหมดนับเป็นหนึ่งทั้งสิ้น รวมทั้งนิบาต ต่างๆ เช่น กึ น ยถา เป็นต้น ก็นับเป็นหนึ่งได้ เช่น

  • : กึ ปเนตํ อาวุโส ปฏิรูปํ ฯ (๑/๘)
  • : ยถา หิ ปสนฺนํ อุทกํ อาคนฺตุเกหิ นีลาทีหิ อุปกฺกิลิฏฺฐํ นีโลทกาทิเภทํ โหติ, น จ นวํ อุทกํ นาปิ ปุริมํ ปสนฺนอุทกเมว ฯ (๑/๒๑)

        อีกข้อหนึ่ง ประโยคข้างหน้าซึ่งสิ้นสุดข้อความไปแล้ว แต่ไม่มี เครื่องหมาย “ฯ” คั่น ก็ไม่นับเป็นหนึ่งของประโยคถัดไป และประโยค เลขนอกทั้งหมดก็ไม่นับเป็นหนึ่งของประโยคเลขในด้วย เคยพบนักศึกษาเรียงนิบาตแบบนี้ผิด อาจเป็นเพราะเข้าใจผิดก็ได้ เช่น

ความไทย : เศรษฐีนี้รักษาเราในฐานะ ที่ไม่ควรรักษา จริงอยู่ เราตัดศีรษะของตน                  ซึ่งประตับตกแต่งแล้ว....สิ้นสี่อสงไขย กําไรแสนกัป...
เรียงว่า     : อยํ  เสฏฺฐี มํ อรกฺขิตพฺพฏฺฐาเน รกฺขติ, หิ อหํ กปฺปสตสหสฺสาธิกานิ                    จตฺตา ริ อสงฺเขยยานิ อลงฺกตปฺปฏิยตฺตํ สีสํ ฉินฺทิตฺวา (ผิด) (๑/๕)

ความไทย : พระติสสะนั้นให้เกิดขัตติยมานะขึ้นแล้ว ถามว่า ท่านมายังสำนักของ                    ใครกัน เมื่อเขาตอบว่า สำนักพระศาสดา จึงกล่าวว่า ก็พวกท่าน                        สำคัญผมว่าท่านรูปนี้ เป็นใคร ดังนี้              
เรียงว่า     : โส ขตฺติยมานํ ชเนตฺวา ตุมฺเห กสฺส สนฺติกํ อาคตาติ ปุจฺฉิตฺวา “สตฺถุ                     สนฺติกนฺติ วุตฺเต, “ปน มํ โก เอโสติ สลฺลกฺเขถ ฯเปฯ (ผิด) (๑/๓๖)

        การวางนิบาตในสองประโยคนี้ผิดทั้งสิ้น ซึ่งมองดูแล้วเหมือนไม่ผิด เพราะวางไว้กลางข้อความ แต่จัดว่าผิด เพราะประโยคสิ้นสุดลง ก่อนถึงนิบาตนั้นๆ และประโยคเลขในซึ่งเป็นประโยคใหม่ ไม่เนื่องด้วย ประโยคข้างนอก จึงต้องนับหนึ่งกันใหม่

        ข้อนี้ต้องสังเกตและระวังให้ดี จำง่ายๆ ว่าประโยคจะสิ้นสุด ลง เมื่อมีกิริยาคุมพากย์ ส่วนประโยคเลขในซึ่งแทรกเข้ามาในประโยคใหญ่ จัดเป็นประโยคใหม่ต่างหาก ไม่เกี่ยวกับประโยคเลขนอก ในทาง สัมพันธ์ประการใด

        การเรียงนิบาตนี้ มีข้อที่ควรลังเกตและระวังไม่ให้ผิดความ นิยม คือ

        ๑. ปิ อปิ ว เอว อิว เหล่านี้ให้เขียนติดกับบทที่ตนกำกับอยู่ และถ้าสนธิได้ก็นิยมสนธิเลย เช่น

  • : ปพฺพชิสฺสาเมวาหํ ตาต ฯ (๑/๗)
  • : อหํปิ คมิสฺสามีติ ฯ (๑/๕)
  • : ตโต นํ ทุกขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ (๑/๒๐)

        ๒. หิ จ ปน เมื่อวางไว้หลังบทหน้าซึ่งลงท้ายด้วย ° (นิคคหิต) นิยมสนธิกับบทนั้น ไม่นิยมเรียงไว้โดดๆ เช่น

  • : เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ ฯ
  • ไม่นิยมว่า เอวํ หิ โน สิกฺขิตพฺพํ ฯ
  • : กถญฺจ ปน เม ภนฺเต..................
  • ไม่นิยมว่า กถํ จ ปน เม ภนฺเต.....................
  • : อยมฺปน ภิกฺขเว.............
  • ไม่นิยมว่า อยํ ปน ภิกฺขเว................

 

       ต่อไปนี้ จักกล่าวถึงวิธีการเรียงนิบาตแต่ละศัพท์ เฉพาะที่มีกฎ เกณฑ์พิเศษออกไป

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search