11.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (การใช้ วินา อญฺตฺร ฐเปตฺวา )

 

การใช้ วินา อญฺญตฺร  ฐเปตฺวา ศัพท์

        ในสำนวนไทยว่า “เว้น, นอก” นั้น อาจใช้ศัพท์ได้หลายศัพท์ และ บทตามก็ประกอบวิภัตติได้หลายวิภัตติ คือ “เว้นซึ่ง...”ก็มี “เว้นจาก...”ก็มี “เว้นด้วย...”ก็มี ในกรณีเช่นนี้ นักศึกษาพึงสังเกตที่ท่านใช้ในปกรณ์ ทั้งหลาย เท่าที่พอนำมาเป็นแนวทางศึกษาก็ได้ ดังนี้

        (๑) วินา ศัพท์ ใช้ในกรณี เว้นอย่างสูง เว้นแบบพรากจากกัน เว้นแบบขาดเสียมิได้ เช่น ผัวเว้นเมียไม่ได้ พุทธบริษัทเว้นพระศาสดา ไม่ได้

        วินา ศัพท์นี้ นิยมเรียงไว้หน้านามที่สัมพันธ์เข้ากับตน และนาม นั้นจะประกอบเป็นทุติยาวิภัตติ (เว้นซึ่ง...) หรือเป็นตติยาวิภัตติ (เว้นด้วย...) หรือเป็นปัญจมีวิภัตติ (เว้นจาก...) อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

ความไทย  : เว้นพระสัทธรรมเสีย ย่อมโม่มีที่พึ่งใดๆ อื่นในโลก
เป็น            : วินา สทฺธมฺมา นาญฺโญ โกจิ นาโถ โลเก วิชฺชติฯ

ความไทย  : เนื้ออื่นจากเนื้อที่เก็บไว้เพื่อสหายของท่าน ไม่มี เขาเว้นเนื้อเสีย                         ก็จะไม่รับประทาน (อาหาร)
เป็น            : สหายกสฺส เต ฐปิตมํสโต อญฺญํ นตฺถิ ฯ โส จ วินา  มํเสน                                น ภุญฺชติ ฯ (๗/๒)

        จะแต่งเป็นว่า วินา สทฺธมฺมํ, วินา สทฺธมฺเมน, วินา มํสํ, วินา มํสา ก็ได้

 

        (๒) อญฺญตฺร ศัพท์ ใช้ในกรณีพิเศษ เว้นเฉพาะเรื่อง เฉพาะ กิจ เฉพาะอย่าง เช่น เว้นจากฝัน เว้นจากข้อที่ควรยกเว้น นามที่เข้า ด้วยนิยมประกอบ เป็นปัญจมีวิภัตติ (เว้นจาก.., นอกจาก..) ที่เป็นตติยาวิภัตติ (เว้นจาก...หักวิภัตติ) ก็ม่บ้าง แต่ไม่นิยม แล้ววางไว้หลัง อญฺญตฺร เช่นกัน เช่น

ความไทย   : ความตรัสรู้สัจจะของชาวโลก จะมีไม่ได้ นอกจากความเกิดขึ้น                           แห่งพระพุทธเจ้า
เป็น            : อญฺญตฺร พุทฺธุปฺปาทา โลกสฺส สจฺจาภิสมโย นตฺถิ ฯ

หรือ            : อชฺชตคฺเคทานาหํ อาวุโส อานนฺท อญฺญตฺเรว ภควตา อญฺญตฺร                        ภิกฺขุสงฺฆา อุโปสถํ กริสฺสามิ ฯ (๑/๑๓๘)

  : สญฺเจตนิกา สุกฺกวิสฏฺฐิ อญฺญตฺร สุปินนฺตา สงฺฆาทิเสโส,

   : ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย อญฺญตฺร ตถาคเตน , (ตติยาวิภัตติ)

   : น เม อิมํ โสกํ อญฺโญ นิพฺพาเปตุํ  สกฺขิสฺสติ อญฺญตฺร ตถาคเตน ฯ (๘/๗๘)

 

        (๓) ฐเปตฺวา ศัพท์ ใช้ในกรณีเว้นไว้ส่วนหนึ่ง กันไว้ส่วนหนึ่ง จากหลายๆ ส่วน คือ ยกเว้นไว้ต่างหากไม่เหมือนผู้อื่น สิ่งอื่น นามที่ เข้าด้วย นิยมเป็นทุติยาวิภัตติ (เว้นซึ่ง...) อย่างเดียว และนิยมเรียงไว้ หลัง ฐเปตฺวา เช่น

ความไทย : ได้ยินว่า เว้นฐานะนี้เสีย ชื่อว่าการจัดแจงภัตตาหาร สำหรับ                              พระตถาคต ย่อมไม่มีใน สถานที่อื่น ในพระไตรปิฎก                       
เป็น           : ฐเปตฺวา กิร อิมํ ฐานํ ตีสุ ปิฏเกสุ อญฺญตฺถ ตถาคตสฺส                                     ภตฺตวิจารณํ นาม นตฺถิ ฯ (๖/๑๒๙)

ความไทย  : ชาวเมืองสารัตถี เว้นพระอริยสาวกเสีย ที่เหลือโดยมาก พูดว่า                         พวกท่านจงดูการกระทำของ เหล่าสมณศากยบุตร
เป็น            : สาวตฺถีวาสิโน ฐเปตฺวา อริยสาวเก เสสา เยภุยฺเยน ปสฺสถ                               สมณานํ สกฺยปุตฺติยานํ กมฺมนฺติอาทีนิ วตฺวา ฯเปฯ (๗/๑๒๔)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search