1.บทที่ ๑ ประโยคและส่วนของประโยค

บทที่ ๑  ประโยคและส่วนของประโยค

        “ประโยค” หมายถึง คำพูดที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่งๆ สามารถ ทำให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ซัดเจนตามต้องการ เช่น คำพูดในภาษา ไทยว่า “ฉันไปเดินเล่น” หรือ “เขามาเมื่อเช้า”  เป็นต้น จะเห็นไต้ว่าเนื้อ ความของประโยคคำพูดนั้นๆ มีความบริบูรณ์ชัดเจนในตัว เข้าใจได้ทันที      

        ในภาษาบาลีก็มีลักษณะเดียวกันนี้ ข้อความต่างๆ จะหมายรู้ได้ ก็ต่อเมื่อผู้พูดหรือผู้เขียน พูดหรือเขียนจบประโยคแล้ว ประโยคในภาษาบาลีก็ได้แก่ข้อความที่รู้กันว่า “วาจก” นั่นเอง แต่ละวาจกนั้นก็เป็น ประโยคหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราอาจแบ่งประโยคภาษาบาลีตามลักษณะ ไวยากรณ์ไต้เป็น ๖ ชนิด คือ

๑. ประโยคลิงคัตถะ เช่น ธมฺเม ปสาโท ฯ สกุณาณํ สมุโห ฯ
๒. ประโยคกัตตุวาจก เช่น โส ตสฺสา คพฺภปริหารํ อทาสิ ฯ
๓. ประโยคก้มมวาจก เช่น อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตา ฯ
๔. ประโยคเหตุกัตตุวาจก เช่น อหํ ภนฺเต วิปสฺสนาธุรํ ปูเรสฺสามิ ฯ
๕. ประโยคเหตุกัมมวาจก เช่น สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต ฯ
๖. ประโยคภาววาจก เช่น นนุ อปฺปมตฺเตหิ ภวิตพฺพํ ฯ

      จะเห็นได้ว่า โครงสร้างของประโยคแต่ละชนิดนั้น เฉพาะใน ประโยคลิงคัตถะ มีเพียงตัวประธานเท่านั้น ส่วนประโยคอื่นมีทั้งตัว ประธานและมีกิริยาคุมพากย์ด้วย จึงจะเป็นประโยคโดยสมบูรณ์ อนึ่ง ถ้าจะแบ่งประโยคตามเนื้อความหรือเนื้อเรื่องในประโยค แล้วอาจแบ่งประโยคออกเป็น ๓ ชนิด คือ ๑. เอกัตถประโยค ๒. อเนกัตถประโยค ๓. สังกรประโยค

      ๑. เอกรรถประโยค คือประโยคเล็กๆ ที่มีเนื้อความสั้นๆ เพียง ตอนเดียว มีความหมายครบบริบูรณ์ในตอนเดียว อาจจะมีเฉพาะตัว ประธานกับตัวกิริยาเท่านั้น หรือมีบทขยายประธานกับกิริยาอีกก็ได้ เช่น

  • - โส คจฺฉติ ฯ
  • - สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏมฺพิโก อโหสิ อฑฺโฒ มหทฺธโน มหาโภโค อปุตฺตโก ฯ (๑/๓)

      ๒.อเนกรรถประโยค คือประโยคที่มีเนี้อความหลายตอนต่อเนื่องกันจึงจะได้ความสมบูรณ์ หากมีเฉพาะตอนเดียว เนื้อความจะไม่ สมบูรณ์ และไม่อาจรู้เรื่องชัดเจนได้ ซึ่งก็ได้แก่เอกัตถประโยค ตั้งแต่ ๒ ประโยค ขึ้นไปต่อเนื่องกัน โดยมีนิบาตเป็นตัวเชื่อมประโยคนั่นเอง นิบาตประเภทนี้เรียกว่า “สันธานนิบาต (นิบาตเชื่อมความ)” ได้แก่นิบาตจำพวก หิ จ ปนสเจ ยทิ กิญฺจาปิ วา วา ปน อถวา เป็นด้น เช่น

  • - ภนฺเต อหํ มหลฺลกกาเล ปพฺพชิโต คนฺถธุรํ ปูเรตุํ น สกฺขิสฺสามิ, วิปสุสนาธุรํ ปน ปูเรสฺสามิ ฯ (๑/๗)
  • - สเจ เต อครุ, วเสยฺยาม เอกรตฺตึ สาลายํ ฯ (๑/๓๗) ปฐมาคโต อิมินา สทฺธึ เอกโต วสิตุกาโม ภเวยฺย วา โน วา ฯ (๑/๓๗)

      ๓. สังกรประโยค คือ ประโยคที่มีเนื้อความคาบเกี่ยวกันโดยช่วย ขยายความให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ได้แก่ เอกัตถประโยค ชื่งมีเอกัตถประโยค อีกประโยคหนึ่งมาช่วยทำหน้าที่ขยายความปรุงแต่งให้ประโยคแรก ชัดเจนขึ้น สังกรประโยคในภาษาบาลี คือ ประโยคที่นักศึกษารู้จักกันว่า “ประโยค ย ต” นั่นเอง เช่น

    อนฺนปานเภสชฺเชสุ โย ยํ อิจฺฉติ, ตสฺส ตํ ยถิจฺฉิตเมว สมฺปชฺชติ ฯ (๑/๔)
    โย ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ ฯ ยเถว ตุมุเห ตํ น ปสฺสถ, ตถา โสปิ เต ปาเณ น ปสฺสติ ฯ (๑/๑๙)

      จึงพอสรุปได้ว่า ประโยคคำพูดนั้นอาจสั้นหรือยาวก็ได้ อาจง่ายๆ หรือสลับซับซ้อนก็ได้ ทั้งนี้ก็แล้วแต่เนื้อความในตอนนั้นๆ แต่จะอย่างไร ก็ตาม ก็จะต้องนับเข้าในประโยคชนิดใดชนิดหนึ่งตามที่กล่าวแล้วทั้งสั้น หานอกเหนือไปจากนี้ไม่ ยังมีประโยคอีก ๒ ชนิด ที่มีใช้อยู่เป็นประโยคพิเศษที่มีเนื้อความ ไม่สมบูรณ์ในตัว แต่คอยแทรกอยู่ในประโยคใหญ่เพื่อให้ประโยคใหญ่มี เนื้อความสมบูรณ์ขึ้น ประโยคทั้งสองนั้นคือ ประโยคอนาทร กับ ประโยคลักขณะ แต่ ๒ ประโยคนื้มีข้อยุ่งยากไม่มากนัก จะยกกล่าวทีหลัง โดยเฉพาะ

 

โครงสร้างของประโยค

      ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการเรียงศัพท์เข้าประโยค เพื่อให้ได้เนื้อความ และถูกต้องตามหลัก จำเป็นที่จะต้องศึกษาโครงสร้างของประโยคก่อน เพื่อจะได้ทราบว่าในแต่ละประโยคนั้นประกอบด้วยโครงสร้างอย่างไร และควรวางส่วนประกอบนั้นๆไร้ที่ไหน เป็นด้น เมื่อศึกษาข้อนื้ได้ดีแล้ว ก็จะเป็นการสะดวกที่จะศึกษาขั้นต่อไป ประโยคในมคธภาษานั้น โดยมากประกอบด้วยส่วนประกอบ ใหญ่ๆ ๓ ส่วน คือ

  • ๑. ส่วนที่เป็นประธาน
  • ๒. ส่วนที่เป็นกรรม
  • ๓. ส่วนที่เป็นกิริยา

      นอกนั้นก็มีส่วนย่อยลงไป คือ ส่วนขยายประธาน ส่วนขยาย กรรม และส่วนขยายกิริยา และในบางประโยคอาจมีศัพท์อาลปนะและนิบาตต่างๆ เข้ามาแทรกบ้าง เพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์ขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้ หมายความว่าประโยคทุกประโยคจะต้องมีโครงสร้างครบส่วนประกอบ ดังกล่าว หาได้บังคับเช่นนั้นไม่

      ประโยคบางประโยคอาจมีครบ บางประโยคส่วนประกอบอาจ มีเพียง ๒ ส่วนหรือ ๓ ส่วนเท่านั้น แต่ก็นับเป็นประโยคบริบูรณ์ได้ใน เมื่อได้ใจความครบแล้ว

      เช่น ประโยคว่า โส ยาติ = เขาไป ประโยคนี้มีเพียงส่วนที่ เป็นประธานกับส่วนที่เป็นกิริยา เท่านื้ก็นับเป็นประโยคเช่นกัน เพราะ ได้เนื้อความบริบูรณ์แล้ว

      หรือประโยคว่า อญฺญตโร ภิกฺขุ สาวตฺถิยํ วิหาสิ = ภิกษุรูป หนึ่งอยู่ที่เมีองสาวัตถี ประโยคนื้มีส่วนประกอบที่เป็นประธาน ส่วนขยาย ประธาน ส่วนกิริยา และส่วนขยายกิริยา แต่ไม่มีส่วนกรรม ก็นับเป็น ประโยคสมบูรณ์ใด้เช่นกัน

      ขอให้จำไว้เป็นเบื้องต้นในเรื่องนี้ก่อนว่า ประโยคต่างๆ เว้น ประโยคลิงคัตถะ และประโยคภาววาจก อย่างน้อยจะต้องมีส่วนประกอบ ๒ ส่วนเป็นโครงสร้าง คือ ส่วนประธานกับส่วนกิริยาคุมประโยค จึงจะ เป็นประโยคโดยสมบูรณ์

      ส่วนประโยคลิงคัตถะมีส่วนประกอบส่วนเดียว คือ ส่วนประธาน ประโยคภาววาจกมีส่วนกิริยาเพียงอย่างเดียว แต่การเรียงศัพท์เข้า ประโยคในประโยคทั้งสองนี้ ไม่สลับซับซ้อน และไม่ยุ่งยากนัก จึงขอ ยกไว้ไม่กล่าวถึงโดยละเอียด จะกล่าวเฉพาะประโยคที่เหลือที่มีเนี้อค,วามเต็มบริบูรณ์เท่านั้น

      การวางศัพท์ต่างๆ อันเป็นส่วนประกอบลงในประโยค เป็น เรื่อง ยุ่งยากและซับซ้อนพอสมควร และมีกฎเกณฑ์มากมาย แต่ขอให้จำไร้ เป็นพื้นฐานก่อนว่า “ศัพท์ใดขยายความศัพท์ใด ให้วางเรียงไว้หน้า ศัพท์นั้น” ก็ได้แก่ “ศัพท์ใดสัมพันธ์เข้ากับตัวใด ให้เรียงไว้หน้าตัวนั้น” นั่นเอง อันนี้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว

      ส่วนข้อปลีกย่อย หรือความซับซ้อนนั้นค่อยๆ ศึกษาไปโดย ละเอียดตามลำดับอีกที เพราะบางครั้งก็อาจวางไว้ข้างหลังบ้างก็ได้ ดังนี้เป็นกฎพิเศษ เมื่อศึกษาดีแล้วย่อมเข้าใจไต้เอง  สรุปแล้ว โครงสร้างของประโยคนั้นจะมีส่วนประกอบด้วยกัน ๘ ส่วน คือ

  • ๑. บทประธาน
  • ๒. บทขยายประธาน
  • ๓. บทกรรม
  • ๔. บทขยายกรรม
  • ๕. บทกิริยา
  • ๖. บทขยายกิริยา
  • ๗. บทอาลปนะ
  • ๘. บทนิบาต

บทประธาน

      บทประธานเป็นส่วนสำคัญของประโยค ได้แก่ ศัพท์ที่ประกอบ ด้วยปฐมาวิภัตติ ออกสำเนียงอายตนิบาตว่า “อันว่า” ศัพท์เช่นใดบ้างที่เป็นประธานได้จักกล่าวทีหลัง ประโยคต่างๆ จะต้องมีบทประธานอยู่ด้วยเสมอ แม้ในบางครั้งจะไม่มีรูปให้เห็น ก็ต้องเติมเข้ามาเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ เช่น ประโยคว่า สพฺพํ โภคํ ทฺวินฺนํเยว วิวเรสุํ ฯ (๑/๔) ประโยคนี้ไม่มีรูปประธานปรากฏ เวลาแปลต้องเติมเข้ามา
      ตัวอย่างบทประธานในประโยค
      - อถสฺส ภริยาย กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาสิ ฯ (๑/๓)
      - อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตา ฯ (๑/๓)

บทขยายประธาน

     บทขยายประธาน ได้แก่ ศัพท์วิเสสนะ ศัพท์วิเสสนะสัพพนาม ศัพท์สัญญาวิเสสนะ ศัพท์สามีสัมพันธะ และศัพท์อาธาระ ทั้งหมด หรือ ศัพท์อื่นๆ ที่ใส่เข้ามาเพื่อแต่ง หรือแสดงเนื้อความออกไปเป็นการทำให้บทประธานชัดเจนยิ่งขึ้น บทขยายประธานนี้นิยมเรียงไว้หน้าตัว ประธานเลย เช่น

ศัพท์วิเสสนะ ทุกฺกรํ กมฺมํ มยา กตํ ฯ
ศัพท์วิเสสนะสัพพนาม อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉติ ฯ (๑/๔)
ศัพท์สัญญาวิเสสนะ
สาวตฺถิยํ กิร อทินฺนปุพฺพโก นาม พฺราหฺมโณ อโหสิ ฯ (๑/๒๓)
ศัพท์สามีส้มพันธะ
ตุมฺหากํ ธีตา ปุตุตํ ปฏิลภิตฺวา กุฏุมฺพสฺส สามินี ภวิสฺสติ ฯ (๑/๔๓)
ศัพท์อาธาระ
ตสฺมึ อาวาเส ภิกฺขู สนฺนิปตึสุ ฯ หตฺถิโน อนฺโตกุจฺฉิยํ สฏฺฐี ปุริสา อปราปรํ จงฺกมนฺติ ฯ (๒/๓๒)

บทกรรม

      บทกรรม คือ บททุติยาวิภัตติซึ่งออกสำเนียงอายตนิบาตว่า “ซึ่ง” เรียกทางสัมพันธ์ว่า “อวุตุตกมุม” เป็นบทที่คล้ายกับทำหน้าที่ ขยายกิริยาให้ซัดเจนขึ้น แต่ในที่นี้ขอแยกไว้เป็นบทหนึ่งต่างหาก เพื่อ มิให้สับสนในภายหลัง บทกรรมนี้เรียงไว้หน้ากิริยาที่เป็นสกัมมธาตุเท่านั้น เช่น

- โส ตสฺสา คพฺภปริหารํ อทาสิ ฯ (๑/๓)
- สามเณโร ตตฺถ นิมิตฺตํ คเหตฺวา ยฏฺฐิโกฏึ วิสฺสชฺเชตฺวา ตสฺสา สนฺติกํ คโต ฯ (๑/๑๔)

บทขยายกรรม

      บทขยายกรรม คือ บทที่ทำหน้าที่เป็นวิเสสนะของบทกรรม ทำบทกรรมให้ชัดเจนขึ้น จะเป็นศัพท์นาม ศัพท์คุณนาม หรือศัพท์กิริยา ประกอบด้วย ต อนฺต มาน ปัจจัยก็ได้ โดยมี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนบทกรรมที่ตนขยาย หรือเป็นบทอื่นใดที่สัมพันธ์เข้ากับบทกรรม นั้นก็ได้ เช่น

- โส เอกทิวสํ นหานติตฺถํ คนุตุ'วา...สมฺปนุนสาขํ เอกํวนปฺปตึ ทิสวา...ฯ (๑/๓)
- ทฺวีหิ ชเนหิ กถิตํ กถํ ปกาเสนฺโต สพฺพํ มฏฺฐกุณฺฑลิวตฺถุํกเถลิ ฯ (๑/๓๒)
- สา อตฺตโน กิจฺจํ นิฏฺฐาเปสิ ฯ

บทกิริยา

      บทกิริยา คือ บทซึ่งเป็นกิริยาอาการของประธาน ทำหน้าที่ให้ เนื้อเรื่องในประโยคดำเนินติดต่อไปได้สะดวก ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของ ประโยคคู่กับประธาน เพราะถ้ามีแต่บทประธาน แต่ขาดบทกิริยาเลย แล้ว ประโยคนั้นจะขาดความสมบูรณ์ลงไป บทกิริยานี้มี ๒ ประเภท คือ
      ๑. บทกิริยาใหญ่
      ๒. บทกิริยาระหว่าง
      บทกิริยาใหญ่ เรียกว่า มุขยกิริยา หรือ กิริยาคุมพากย์ ทำหน้าที่คุมประโยค และเป็นกิริยาที่สุดของประโยค จะรู้ได้ว่าประโยค สั้นๆ มีเนื้อความสั้นสุดหรือยัง ก็ดูที่กิริยาคุมพากย์นี้ กิริยาประเภทนี้ ได้แก่ กิริยาที่ประกอบด้วยปัจจัยในอาขยาตทั้งหมด และปัจจัยใน กิริยากิตก์ที่ เป็นกิริยาคุมพากย์ได้ เช่น ต อนีย ตพฺพ ปัจจัย
      บทกิริยานี้ ส่วนมากเรียงไว้หลังสุดประโยค เช่น
      - สา ทสมาสจฺจเยน ปุตฺตํ วิชายิ ฯ (๑/๓)
      - เอวํ สมฺปทมิทํ เวทิตพฺพํ ฯ (๑/๘๗)

      บทกิริยาระหว่าง เรียกว่าอนุกิริยา หรือ อัพภันตรกิริยา ได้แก่ กิริยาที่แทรกอยู่ในกลางประโยคที่มีเนื้อความยาวๆ หรือประโยคที่มีกิริยาหลายๆ ตอน ก่อนที่จะถึงกิริยาใหญ่คุมพากย์

      กิริยาประเภทนี้ได้แก่ กิริยาที่ประกอบด้วย อนฺต มาน ปัจจัย และ ตฺวา ปัจจัย เป็นต้น นั่นเอง เช่น
      - โส เอกทิวสํ นหานติตุถํ คนฺตวา นหาตฺวา อาคจฺฉนฺโต อนฺตรามคฺเค สมฺปนฺนสาขํ เอกํ วนปฺปตึ ทิสฺวา ฯเปฯ ปกฺกามิ ฯ (๑/๓)
      - ปจฺฉา วินยธโร ตตฺถ ปวิฏฺโฐ ตํ อุทกํ ทิสฺวา นิกฺขมิตฺวา อิตรํ ปุจฺฉิ ฯ (๑/๔๙)

บทขยายกิริยา

      บทขยายกิริยา คือ บทที่ช่วยทำให้กิริยาสมบูรณ์และมีเนื้อความ เด่นชัดขึ้น บทขยายกิริยานี้ ได้แก่ ศัพท์ที่สัมพันธ์เข้ากับกิริยาทั้งหมด ยกเว้นบทกรรมนั่นเอง ศัพท์ประเภทนี้ได้แก่ศัพท์ ทุติยาวิภัตติ ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ปัญจมีวิภัตติ สัตตมีวิภัตติ ที่สัมพันธ์เข้ากับกิริยา และ ศัพท์กิริยาวิเสสนะ วิกติกัตตา เช่น

ทุติยาวิภัตติ : (โส) ทุกฺขี ทุมฺมโน สตฺถุ สนฺติกํ อคมาสิ ฯ (๑/๓๖)
ตติยาวิภัตติ
: โส กิร สตฺถริ อธิมตฺตสิเนเหน ปญฺหํ น ปุจฺฉติ ฯ (๑/๕)
จตุตถีวิภัตติ
: โส ตํ อาหริตฺวา ปุตฺตสฺส เภสชฺชํ อกาสิ ฯ (๑/๒๓)
ปัญจมีวิภัตติ
: ปาปา จิตฺตํ นิวารเย (๕/๔)
สัตตมีวิภัตติ
: ตทา สาวตฺถิยํ สตฺต มนุสฺสโกฏิโย วสนฺติ ฯ (๑/๕)
กิริวิเสสนะ
: สตฺถา ปน เตน หตฺถินา อุปฏฺฐิยมาโน สุขํ วสิ ฯ (๑/๕๓)
วิกติกัตตา
: ปาโป ชาโตสิ สามเณร ฯ (๑/๑๕)

บทอาลปนะ

      บทอาลปนะ คือ บทที่แทรกเข้ามาเป็นคำร้องเรียกในประโยค เวลาแปลต้องแปลก่อนที่จะแปลบทประธานในประโยค มีวิธีเรียก สัมพันธ์เฉพาะตัวและไม่เข้ากับศัพท์อื่น เช่น

- ภนฺเต อิมสฺมึ สาสเน กติ ธุรานิ ฯ (๑/๗)
- วเทหิ ตาว อาวุโส ปาลิต ฯ (๑/๑๐)
- อจฺฉริยา วต โภ ธมฺมเทสนา ฯ (๑/๗๐)

บทนิบาต

      บทนิบาต คือ นิบาตต่างๆ ที่ทำหน้าที่ขึ้นต้นประโยคหรือเชื่อม ประโยค เช่น นิบาตบอกกาล นิบาตบอกความรับความเตือน นิบาตบอก ปริเฉท เป็นต้น นิบาตเหล่านี้เรียกชื่อสัมพันธ์แบบลอยตัวบ้าง เข้ากับกิริยาบ้าง กับนามบ้าง แล้วแต่กรณี เช่น
      - อถสุส ภริยาย กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาสิ ฯ (๑/๓)
      - พุทฺธา จ นาม ธมฺมํ เทเสนฺตา....ฯ (๑/๕)
      - สาวตฺถิยํ กิร ปญฺจสตา ธมฺมิกอุปาสกา นาม อเหสุํ ฯ (๑/๑๒๐)

      บทต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนประกอบของประโยคทั้งสิ้น และมีส่วนทำให้ประโยคสละสลวย และสมบูรณ์ขึ้น จึงควรทราบไว้เป็นพื้นฐาน เบื้องต้นว่าบทหรือศัพท์นั้นๆ ทำหน้าที่อะไรในประโยค ซึ่งจะได้ง่ายต่อการวางศัพท์นั้นๆ ลงไปในประโยคอีกทีหนึ่ง ทั้งจะได้ทราบความสัมพันธ์ กันของศัพท์ทุกศัพท์ในประโยคด้วย
      เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้ ขอให้ดูประโยคต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง แล้วแยกส่วนออกเป็นศัพท์ๆ พร้อมทั้งบอกด้วยว่าแต่ละศัพท์ทำหน้าที่ อะไรในประโยค
      พุทธา จ นาม ธมฺมํ เทเสนฺตา สรณสีลปพฺพชฺชาทีนํ อุปนิสฺสยํ โอโลเกตฺวา อชฺฌาสยวเสน ธมฺมํ เทเสนฺติ, ตสฺมา ตํ ทิวสํ สตฺถา ตสฺส อุปนิสฺสยํ โอโลเกตฺวา ธมฺมํ เทเสนฺโต อนุปุพฺพีกถํ กเถสิ ฯ (๑/๕)

พุทฺธา เป็นบทประธาน
จ เป็นนิบาตต้นข้อความ
นาม เป็นบทนิบาต
ธมฺมํ เป็นบทกรรม
เทเสนฺตา เป็นบทกิริยาระหว่าง
สรณ...ทีนํ เป็นบทขยายกรรม
อุปนิสฺสยํ เป็นบทกรรม
โอโลเกตฺวา เป็นบทกิริยาระหว่าง
อชฺฌาสยวเสน เป็นบทขายกิริยา
ธมฺมํ เป็นบทกรรม
เทเสนฺติ เป็นบทกิริยา (คุมพากย์)
ตํทิวสํ เป็นบทขยายกิริยา
ตสฺมา เป็นบทขยายกิริยา
ตสฺส เป็นบทขยายกรรม
สตฺถา เป็นบทประธาน
โอโลเกตฺวา เป็นบทกิริยาระหว่าง
อุปนิสฺสยํ เป็นบทกรรม
เทเสนฺโต เป็นบทกิริยาระหว่าง
ธมฺมํ เป็นบทกรรม
อนุปุพฺพีกถํ เป็นบทกรรม
กเถสิ เป็นบทกิริยา (คุมพากย์)

      จะเห็นได้ว่าบทหรือศัพท์ทั้งหมด จะต้องเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งของประโยค หานอกกฎไปไม่

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


45611361
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2645
40295
42940
45235495
270413
1019588
45611361

Your IP: 35.171.164.77
2024-10-07 01:52
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search