ตัทธิต

ตัทธิต

            ปัจจัยหมู่หนึ่ง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เนื้อความย่อเพื่อใช้แทนศัพท์ ย่อคำพูดให้สั้นลง เรียกว่า “ตัทธิต” มีรูปวิเคราะว่า “ตสฺส หิตํ ตทฺธิตํ (ปจฺจย-ชาตํ) แปลว่า (ปัจจัย) เป็นประโยชน์ แก่เนื้อความย่อนั้น ชื่อว่าตัทธิต

            ตัทธิต จึงเป็นการเชื่อมคำนามกับปัจจัย เป็นการสร้างคำใหม่เพื่อให้กระชับกว่าการใช้คำนามล้วน ๆ หมายความว่า ปัจจัยกลุ่มนี้ช่วยย่อคำให้สั้นลง เช่นคำว่า “สฺยาเม ชาโต เกิดในสยาม” ลงปัจจัยแทน ชาต คงไว้แต่ สฺยาม เป็น สฺยามิโก

            ตัทธิต ว่าโดยย่อ แบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ สามัญญตัทธิต ภาวตัทธิต และอัพยยตัทธิต ที่จัดเป็นเช่นนั้นเพราะจัดตามลักษณะตัทธิต

 

สามัญญตัทธิต ๑๓ อย่าง

            ตัทธิตใดลงปัจจัยใช้แทนศัพท์ได้มากทั้งในนามนาม คุณนาม และสัพพนาม ชื่อว่าสามัญญตัทธิต ๆ ทั้ง ๑๓ อย่าง คือ โคตตตัทธิต ตรตยาทิตัทธิต ราคาทิตัทธิต ชาตาทิตัทธิต สมุหตัทธิตฐานตัทธิต พหุลตัทธิต เสฏฐตัทธิต ตทัสสัตถิตัทธิต ปกติตัทธิต สังขยาตัทธิต ปูรณตัทธิต วิภาคตัทธิต (โค ต รา ชา ส ฐา พ เส ต ป สํ ปู วิ) ส่วนคัมภีร์ศัพทศาสตร์แบ่งเป็น ๑๕ โดยเพิ่มอุปมาตัทธิต และนิสสิตตัทธิต

            การลงปัจจัยที่เนื่องด้วย จะต้องพฤทธิ์ต้นศัพท์ ถ้าต้นศัพทเป็นสระ อ, อิ, อุ ไม่มีตัวสะกดให้พฤทธิ์ได้ ถ้ามีตัวสะกดหรือ เป็นสระ อา อี อู ห้ามพฤทธิ์ ทีฆะ เป็น อา, อิ เป็น อี, อุ เป็น อู ก็ดี, วิการ อิ เป็น เอ, อุ เป็น โอ ก็ดี ชื่อว่า พฤทธิ์ แล้วให้ลบ ปัจจัยเสีย

            ศัพท์หน้าที่ใช้สังขยาคุณในเสฏฐตัทธิต สัพพนามใช้ในอัพยยตัทธิต สังขยาใช้ในปูรณตัทธิต สังขยาตัทธิต วิภาคตัทธิต ส่วนนิบาตมีใช้อยู่ในชาตาทิตัทธิตบ้าง ปัจจัยในตัทธิตทั้ง ๔๙ ตัว ใช้แทนศัพท์ทั้งสิ้น มียกเว้นปัจจัยในเสฏฐตัทธิต ๕ ตัว ไม่ใช้แทนศัพท์

 

๑. โคตตตัทธิต

            โคตตตัทธิต ใช้ปัจจัยแทน โคตฺต ศัพท์ หรือ อปจฺจ ศัพท์ แปลว่า เหล่ากอ มีปัจจัย ๘ ตัว คือ ณ, ณายน, ณาน, เณยฺย, ณิ, ณิก, ณว, เณร

- ณ ปัจจัย เช่น

            - วสิฏฺฐสฺส อปจฺจํ วาสิฏโฐ เหล่ากอ แห่งวสิฏฐะ ชื่อว่าวาสิฏฐะ

            - โคตมสฺส อปจฺจํ โคตโม เหล่ากอ แห่งโคตมะ ชื่อว่าโคตมะ

            - วสุเทวสฺส อปจฺจํ วาสุเทโว เหล่ากอ แห่งวสุเทวะ ชื่อว่าวาสุเทวะ

- ณายน ปัจจัย เช่น

            - กจฺจสฺส อปจฺจํ กจฺจายโน เหล่ากอ แห่งกัจจะ ชื่อว่ากัจจายนะ

            - วจฺฉสฺส อปจฺจํ วจฺฉายโน เหล่ากอ แห่งวัจฉะ ชื่อว่าวัจฉายนะ

            - โมคฺคลฺลิยา อปจฺจํ โมคฺคลฺลายโน เหล่ากอ แห่งนางโมคคัลลี ชื่อว่าโมคคัลลายนะ

- ณาน ปัจจัย เช่น กจฺจาโน วจฺฉาโน โมคฺคลฺลาโน ตั้งวิเคราะห์และแปลเหมือน ณายน ปัจจัย

- เณยฺย ปัจจัย เช่น

            - ภคินิยา อปจฺจํ ภาคิเนยฺโย เหล่ากอ แห่งพี่น้องหญิง ชื่อว่าภาคิเนยยะ

            - วินตาย อปจฺจจํ เวนเตยฺโย เหล่ากอ แห่งนางวินตา ชื่อว่าเวนเตยยะ

            - โรหิณิยา อปจฺจํ โรหิเณยฺโย เหล่ากอ แห่งนางโรหิณี ชื่อว่าโรหิเณยยะ

- ณิ ปัจจัย เช่น

            - ทกฺขสฺส อปจฺจํ ทกฺขิ เหล่ากอ แห่งทักขะ ชื่อว่าทักขิ

            - วสวสฺส อปจฺจํ วาสวิ เหล่ากอ แห่งวสวะ ชื่อว่าวาสวิ

            - วรุณสฺส อปจฺจํ วารุณิ เหล่ากอ แห่งวรุณะ ชื่อว่าวารุณิ

- ณิก ปัจจัย เช่น

            - สกฺยปุตฺตสฺส อปจฺจํ สากฺยปุตฺติโก เหล่ากอ แห่งบุตรแห่งสักยะ ชื่อว่าสากย-ปุตติกะ

            - นาฏปุตฺตสฺส อปจฺจํ นาฏปุตฺติโก เหล่ากอ แห่งบุตรแห่งชนรำ ชื่อว่านาฏ-ปุตติกะ

            - ชินทตฺตสฺส อปจฺจํ เชนทตฺติโก เหล่ากอ แห่งชินทัตตะ ชื่อว่าเชนทัตติกะ

- ณว ปัจจัย เช่น

            - อุปกุสฺส อปจฺจํ โอปกโว เหล่ากอ แห่งอุปกุ ชื่อว่าโอปกวะ

            - มนุโน อปจฺจํ มานโว เหล่ากอ แห่งมนุ ชื่อว่ามานวะ

            - ภคฺคุโน อปจฺจํ ภคฺคโว เหล่ากอ แห่งภัคคุ ชื่อว่าภัคควะ

- เณร ปัจจัย เช่น

            - วิธวาย อปจฺจํ เวธเวโร เหล่ากอ แห่งแม่หม้าย ชื่อว่าเวธเวระ

            - สมณฺส อปจฺจํ สามเณโร เหล่ากอ แห่งสมณะ ชื่อว่าสามเณระ

 

๒. ตรตยาทิตัทธิต

ตรตยาทิตัทธิต ใช้ ณิก ปัจจัย แทน ตรติ ศัพท์เป็นต้น เช่น

  • นาวาย ตรตีติ นาวิโก (ชนใด) ย่อมข้าม ด้วยเรือ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่าผู้ข้ามด้วยเรือ
  • ติเลหิ สํสฏฺฐํ โภชนํ เตลิกํ โภชนะ ระคนพร้อมแล้ว ด้วยเมล็ดงา ท. ชื่อว่าระคนแล้วด้วยงา
  • สกเฏน จรตีติ สากฏิโก (ชนใด) ย่อมเที่ยวไป ด้วยเกวียน เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่าผู้เที่ยวไปด้วยเกวียน
  • ราชคเห ชาโต ราชคหิโก (ชน) เกิดแล้ว ในเมืองราชคฤห์ ชื่อว่าผู้เกิดในเมืองราชคฤห์, ตสฺมึ วสตีติ ราชคหิโก (ชนใด) ย่อมอยู่ ในเมืองราชคฤห์ (นั้น) เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่าผู้อยู่ในเมืองราชคฤห์
  • กาเยน กตํ กมฺมํ กายิกํ กรรม (อันชน) ทำเล้ว ด้วยกาย ชื่อว่าอันชนทำแล้วด้วยกาย, ตสฺมึ วตฺตตีติ กายิกํ (กรรมใด) ย่อมเป็นไป ในกายนั้น เหตุนั้น (กรรมนั้น) ชื่อว่าเป็นไปในกาย
  • ทฺวาเร นิยุตฺโต โทวาริโก (ชน) ประกอบ ที่ประตู ชื่อว่าผู้ประกอบที่ประตู
  • สกุเณ หนฺตฺวา ชีวตีติ สากุณิโก (ชนใด) ฆ่า ซึ่งนก ท. เป็นอยู่ (เลี้ยงชีวิต) เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่าผู้ฆ่าซึ่งนกเป็นอยู่
  • สงฺฆสฺส สนฺตกํ สงฺฆิกํ (วัตถุใด) เป็นของมีอยู่ แห่งสงฆ์ (วัตถุนั้น) ชื่อว่าวัตถุมีอยู่แห่งสงฆ์
  • อกฺเขน ทิพฺพตีติ อกฺขิโก (ชนใด) ย่อมเล่น ด้วยสกา เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่าผู้เล่นด้วยสกา

 

๓. ราคาทิตัทธิต

ราคาทิตัทธิต ใช้ ปัจจัย แทน รตฺต ศัพท์ เป็นต้น เช่น

  • กาสาเวน รตฺตํ วตฺถํ กาสาวํ ผ้า (อันบุคคล) ย้อมแล้ว ด้วยรสฝาด ชื่อว่าผ้าอันบุคคลย้อมแล้วด้วยรสฝาด
  • มหิสสฺส อิทํ มํสํ มาหิสํ เนื้อ นี้ ของกระบือ ชื่อว่าเนื้อของกระบือ
  • มคเธ ชาโต มาคโธ (ชน) เกิดแล้ว ในแว่นแคว้นมคธ ชื่อว่าผู้เกิดในแว่นแคว้นมคธ,

ตสฺมึ วสตีติ มาคโธ (ชนใด) ย่อมอยู่ ในแว่นแคว้นมคธ นั้น เหตุนั้น (ชน

นั้น) ชื่อว่าผู้อยู่ในแคว้นมคธ,

ตตฺร อิสฺสโร มาคโธ (ชน) เป็นอิสระ ในแว่นแคว้นมคธ นั้น ชื่อว่าผู้เป็น

อิสระในแคว้นมคธ

  • กตฺติกาย นิยุตฺโต กตฺติโก (มาโส) เดือน ประกอบ ด้วยฤกษ์กัตติกา ชื่อว่า

เดือนประกอบด้วฤกษ์กัตติกา

  • วฺยากรณํ อธิเตติ เวยฺยากรโณ (ชนใด) ย่อมเรียน ซึ่งพยากรณ์ เหตุนั้น (ชน

นั้น) ชื่อว่าผู้เรียนซึ่งพยากรณ์

 

๔. ชาตาทิตัทธิต

            ชาตาทิตัทธิต ใช้ปัจจัย อิม, อิย, กิย แทน ชาต ศัพท์ เป็นต้น

- อิม ปัจจัย เช่น

            - ปุเร ชาโต ปุริโม (ชน) เกิดแล้ว ในก่อน ชื่อว่าผู้เกิดแล้วในก่อน

            - มชฺเฌ ชาโต มชฺฌิโม (ชน) เกิดแล้ว ในท่ามกลาง ชื่อว่าผู้เกิดแล้วในท่ามกลาง

            - ปจฺฉา ชาโต ปจฺฉิโม (ชน) เกิดแล้ว ในภายหลัง ชื่อว่าผู้เกิดแล้วในภายหลัง

            - ปุตฺโต อสฺส อตฺถีติ ปุตฺติโม บุตร ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีบุตร

            - อนฺเต นิยุตฺโต อนฺติโม (ชน) ประกอบในที่สุด ชื่อว่าผู้ประกอบในที่สุด

- อิย ปัจจัย เช่น

            - มนุสฺสชาติยา ชาโต มนุสฺสชาติโย (ชน) เกิดแล้ว โดยชาติแห่งมนุษย์ ชื่อว่าผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งมนุษย์

            - อสฺสชาติยา ชาโต อสฺสชาติโย (สัตว์) เกิดแล้ว โดยชาติแห่งม้า ชื่อว่าผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งม้า

            - ปณฺฑิตชาติยา ชาโต ปณฺฑิตชาติโย (ชน) เกิดแล้ว โดยชาติแห่งบัณฑิต ชื่อผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งบัณฑิต

            - ปณฺฑิตชาติ อสฺส อตฺถีติ ปณฺฑิตชาติดย ชาติแห่งบัณฑิต ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีชาติแห่งบัณฑิต

- กิย ปัจจัย เช่น

            - อนฺเธ นิยุตฺโต อนฺธกิโย (ชน) ประกอบแล้ว ในที่มืด ชื่อว่าผู้ประกอบในที่มืด

 

๕. สมุหตัทธิต

            สมุหตัทธิต ใช้ปัจจัย ๓ ตัว คือ กณ, ณ, ตา แทน สมุห ศัพท์

- กณฺ ปัจจัย เช่น

            - มนุสฺสานํ สมุโห มานุสโก ประชุม แห่งมษุษย์ ท. ชื่อว่าประชุมแห่งมนุษย์/หมู่แห่งมนุษย์

            - มยุรานํ สมุโห มายุรโก ประชุม แห่งนกยูง ท. ชื่อว่าประชุมแห่งนกยูง/ฝูงแห่งนกยูง

            - กโปตานํ สมุโห กาโปตโก ประชุม แห่งนกพิราบ ท. ชื่อว่าประชุมแห่งนกพิราบ/ฝูงแห่งนกพิราบ

- ณ ปัจจัย เช่น

            มานุโส มายุโร กาโปโต วิเคราะห์และแปลเหมือน กณฺ ปัจจัย

- ตา ปัจจัย เช่น

            - คามานํ สมุโห คามตา ประชุม แห่งชาวบ้าน ท. ชื่อว่าประชุมแห่งชาวบ้าน

            - ชนานํ สมุโห ชนตา ประชุม แห่งชน ท. ชื่อว่าประชุมแห่งชน

            - สหายานํ สมุโห สหายติ ประชุม แห่งสหาย ท. ชื่อว่าประชุมแห่งสหาย

 

๖. ฐานตัทธิต

            ฐานตัทธิต ใช้ปัจจัย ๒ ตัว คือ อีย, เอยฺย ปัจจัย แทน ฐาน, อรหติ, หิต, ภว

- ลง อีย ปัจจัย เช่น

            - มทนสฺส ฐานํ มทนียํ ที่ตั้ง แห่งความเมา ชื่อว่าที่ตั้งแห่งความเมา

            - พนฺธนสฺส ฐานํ พนฺธนียํ ที่ตั้ง แห่งความผูก ชื่อว่าที่ตั้งแห่งความผูก

            - โมจนสฺส ฐานํ โมจนียํ ที่ตั้ง แห่งความแก้ ชื่อว่าที่ตั้งแห่งความแก้

- อีย, เอยฺย ปัจจัยที้ง ๒ นี้ ลงในอรรถ คือ อรห (ควร) เช่น

            - ทสฺสนํ อรหตีติ ทสฺสนีโย (ชนใด) ย่อมควร ซึ่งความเห็น เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่าผู้ควรซึ่งการเห็น

            - ปูชนํ อรหตีติ ปูชเนยฺโย (ชนใด) ย่อมควร ซึ่งการบูชา เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่าผู้ควรซึ่งการบูชา

            - ทกฺขิณํ อรหตีติ ทกฺขิเณยฺโย (ชนใด) ย่อมควร ซึ่งทักขิณา เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่าผู้ควรซึ่งทักขิณา

ในคัมภีร์สัททนีติปกรณ์กล่าวว่า อีย ปัจจัย ลงในอรรถอย่างอื่นได้ เช่น

  • อุปาทานานํ หิตํ อุปาทานียํ เกื้อกูล แก่อุปาทาน ท. ชื่อว่าเกื้อกูลแก่อุปาทาน
  • อุทเร ภวํ อุทรียํ (โภชนะ) มีในท้อง ชื่อว่าโภชนะมีในท้อง

 

๗. พหุลตัทธิต

พหุลตัทธิต ใช้ อาลุ ปัจจัย แทน ปกติ หรือ พหุล ศัพท์ เช่น

  • อภิชฺฌา อสฺส ปกติ อภิชฺฌาลุ อภิชฌา เป็นปกติ ของชนนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีอภิชฌาเป็นปกติ
  • อภิชฺฌา อสฺส พหุลา อภิชฺฌาลุ อภิชฌา ของชนนั้น มาก (ชนนั้น) ชื่อว่ามีอภิชฌามาก
  • สีตํ อสฺส ปกติ สีตาลุ หนาว เป็นปกติ ของประเทศนั้น (ประเทศนั้น) ชื่อว่ามีหนาวเป็นปกติ
  • สีตํ เอตฺถ พหุลํ สีตาลุ ความหนาว ในประเทศนั้น มาก (ประเทศนั้น) ชื่อว่ามีหนาวมาก
  • ทยา อสฺส ปกติ ทยาลุ ความเอ็นดู เป็นปกติ ของชนนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีความเอ็นดูเป็นปกติ
  • ทยา อสฺส พหุลา ทยาลุ ความเอ็นดู ของชนนั้น มาก (ชนนั้น) ชื่อว่ามีความเอ็นดูมาก

 

๘. เสฏฐตัทธิต

            เสฏฐตัทธิต ใช้ปัจจัย ๕ ตัว คือ ตร, ตม, อิยิสฺสก, อิย, อิฏฐ เป็นเครื่องหมายคุณนาม ๒ ชั้น มีรูปวิเคราะห์และคำแปลเหมือนกัน

- ตร ปัจจัย เช่น

            ปาปตโร เป็นบาปกว่า, ปณฺฑิตตโร เป็นบัณฑิตกว่า, หีนตโร เลวกว่า, ปณีตต-โร ประณีตกว่า

  • สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ ปาปตโร (ชนท.) เหล่านี้ ทั้งปวง เป็นบาป, (ชน) นี้ เป็นบาป โดยวิเศษ แห่ง (กว่า) ชน ท. เหล่านี้ เหตุนั้น (ชนนี้) ชื่อว่าเป็นบาปกว่า
  • สพฺเพ อิเม หีนา, อยมิเมสํ วิเสเสน หีโนติ หีนตโร เลวกว่า
  • สพฺเพ อิเม ปณฺฑิตา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปณฺฑิโตติ ปณฺฑิตตโร เป็นบัณฑิตกว่า
  • สพฺเพ อิเม ปณีตา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปณีโตติ ปณีตตโร ประณีตกว่า

- ตม ปัจจัย เช่น

            - สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปาโปติ ปาปตโร/ปาปตโม. (ชน ท.) เหล่านี้ ทั้งปวง เป็นบาป, (ชนนี้) เป็นบาป โดยวิเศษ แห่ง (กว่า) ชน ท. เหล่านี้ เหตุนั้น (ชนนี้) ชื่อว่าปาปตร (เป็นบาปกว่า), ปาปตม (เป็นบาปที่สุด)

            - สพฺเพ อิเม หีนา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน หีโนติ หีนตโม เลวที่สุด

            - สพฺเพ อิเม ปณฺฑิตา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปณฺฑิโตติ ปณฺฑิตตโม เป็นบัณฑิตที่สุด

            - สพฺเพ อิเม ปณีตา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปณีโตติ ปณีตตโม ประณีตที่สุด

- อิยิสฺสก ปัจจัย คือ

            - สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ ปาปิยิสฺสโก เป็นบาปกว่า

- อิย ปัจจัย เช่น

            - สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ ปาปิโย เป็นบาปกว่า

            - สพฺเพ อิเม อปฺปา, อยมิเมสํ วิเสเสน อปฺโปติ กนิโย น้อยกว่า (แปลง อปฺป เป็น กน)

            - สพฺเพ อิเม ปสตฺถา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปสตฺโถติ เสยฺโย ประเสริฐกว่า, อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วกว่า (แปลง วุฑฺฒ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ)

            - สพฺเพ อิเม วุฑฺฒา, อยมิเมสํ วิเสเสน วุฑฺโฒติ เชยฺโย เจริญกว่า (แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ ซ้อน ยฺ)

- อิฏฺฐ ปัจจัย เช่น

            - สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปาโปติ ปาปิฏฺโฐ เป็นบาปที่สุด

            - สพฺเพ อิเม อปฺปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน อปฺโปติ กนิฏฺโฐ น้อยที่สุด (แปลง อปฺป เป็น กน)

            - สพฺเพ อิเม ปสตฺถา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปสตฺโถติ เสฏฺโฐ ประเสริฐที่สุด, อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วที่สุด (แปลง วุฑฺฒ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ)

            - สพฺเพ อิเม วุฑฺฒา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน วุฑฺโฒติ เชฏฺโฐ เจริญที่สุด (แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ ซ้อน ยฺ)

 

            การตั้งวิเคราะห์แบบรวมทั้งวิเสสและอติวิเสส

            - สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ ปาปตโร/ปาปตโม (ชน ท.) เหล่านี้ ทั้งปวงเป็นบาป, (ชน) นี้ เป็นบาป โดยวิเสส กว่าชน ท. เหล่านี้ เหตุนั้น (ชนนี้) ชื่อว่าเป็นบาปกว่า (ปาปตร) เป็นบาปที่สุด (ปาปตม)

 

ปัจจัยทั้ง ๕ ในตัทธิตนี้ แบ่งเป็นเครื่องหมายคุณนาม ๒ ชั้น ดังนี้

  • ตร อิยิสฺสก อิย เป็นเครื่องหมายคุณนามชั้นวิเสส
  • ตม อิฏฺฐ เป็นเครื่องหมายคุณนามชั้นอติวิเสส

ปัจจัยเหล่านี้ใช้แทน เสฏฺฐ ศัพท์ มีโครงสร้างรูปวิเคราะห์ว่า

- อัญญบทเป็น ปุ. สพฺเพ อิเม..., อยมิเมสํ วิเสเสน ...ติ = ... (......)

- อัญญบทเป็น อิตฺ. สพฺพา อิมา..., อยมิมาสํ วิเสเสน ...ติ = ... (......)

- อัญญบทเป็น นปุ. สพฺพานิ อิมานิ..., อยมิเมสํ วิเสเสน ...ติ = ... (......)

 

๙. ตทัสสัตถิตัทธิต

            ตทัสสัตถิตัทธิต ใช้ปัจจัย ๙ ตัว คือ วี, ส, สี, อิก, อี, ร, วนฺตุ, มนฺตุ, ณ แทน อตฺถิ ศัพท์

- วี ปัจจัย เช่น

            - เมธา อสฺส อตฺถีติ เมธาวี เมธา (ปัญญา) ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีปัญญา

            - มายา อสฺส อตฺถีติ มายาวี มายา ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีมายา

- ส ปัจจัย คือ

            - สุเมธา อสฺส อตฺถีติ สุเมธโส เมธาดี ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีเมธาดี

- สี ปัจจัย เช่น

            - ตโป อสฺส อตฺถีติ ตปสี ตปะ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีตปะ

            - เตโช อสฺส อตฺถีติ เตชสี เดช ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีเดช

- อิก ปัจจัย เช่น

            - ทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติ ทณฺฑิโก ไม้เท้า ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีไม้เท้า

            - อตฺโถ อสฺส อตฺถีติ อตฺถิโก ความต้องการ ของชนนั้ มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีความต้องการ

- อี ปัจจัย เช่น ทณฺฑี คนมีไม้เท้า (วิเคราะห์เหมือน ทณฺฑิโก)

            - สุขํ อสฺส อตฺถีติ สุขี สุข ของชนนั้น มีอยู่ (ชนนั้น) ชื่อว่ามีสุข

            - โภโค อสฺส อตฺถีติ โภคี โภคะ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีโภคะ

- ร ปัจจัย เช่น

            - มธุ อสฺส อตฺถีติ มธุโร น้ำผึ้ง ของขนมนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ขนมนั้น) ชื่อว่ามีน้ำผึ้ง

            - มุขํ อสฺส อตฺถีติ มุขโร ปาก ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีปาก

- วนฺตุ ปัจจัย เช่น

            - คุโณ อสฺส อตฺถีติ คุณวา คุณ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีคุณ

            - ธนํ อสฺส อตฺถีติ ธนวา ทรัพย์ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีทรัพย์

            - ปญฺญา อสฺส อตฺถีติ ปญฺญวา ปัญญา ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีปัญญา

            - ปุญฺญํ อสฺส อตฺถีติ ปุญฺญวา บุญ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีบุญ

 

- มนฺตุ ปัจจัย เช่น

            - อายุ อสฺส อตฺถีติ อายสฺมา อายุ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีอายุ

            - สติ อสฺส อตฺถีติ สติมา สติ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีสติ

            - จกฺขุ อสฺส อตฺถีติ จกฺขุมา จักษุ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีจักษุ

            - ชุติ อสฺส อตฺถีติ ชุติมา ความโพลง ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีความโพลง

 

- ณ ปัจจัย เช่น

            - สทฺธา อสฺส อตฺถีติ สทฺโธ ศรัทธา ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีศรัทธา

            - มจฺเฉรํ อสฺส อตฺถีติ มจฺเฉโร ความตระหนี่ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่ามีความตระหนี่

 

๑๐. ปกติตัทธิต

ปกติตัทธิต ใช้ มย ปัจจัย แทน ปกต หรือ วิการ ศัพท์ เช่น

            - สุวณฺเณน ปกตํ โสวณฺณมยํ (ภาชนะ) อันบุคคลทำแล้ว ด้วยทอง ชื่อมีภาชนะอันบุคคลทำแล้วด้วยทอง

            - สุวณฺณสฺส วิกาโร โสวณฺณมยํ (ภาชนะ) เป็นวิการ แห่งทอง ชื่อว่าภาชนะอันเป็นวิการแห่งทอง

            - มตฺติกาย ปกตํ มตฺติกามยํ (ภาชนะ) อันบุคคลทำแล้ว ด้วยดิน ชื่อว่าภาชนะอันบุคคลทำแล้วด้วยดิน

            - มตฺติกาย วิกาโร มตฺติกามยํ (ภาชนะ) เป็นวิการ แห่งดิน ชื่อว่าภาชนะอันเป็นวิการแห่งดิน

            - อยสา ปกตํ อโยมยํ (ภาชนะ) อันบุคคลทำแล้ว ด้วยเหล็ก ชื่อว่าภาชนะอันบุคคลทำแล้วด้วยเหล็ก

            - อยโส วิกาโร อโยมยํ (ภาชนะ) เป็นวิการ แห่งเหล็ก ชื่อว่าภาชนะอันเป็นวิการแห่งเหล็ก

 

๑๑. ปูรณตัทธิต

            ปูรณตัทธิต ใช้ปัจจัย ๕ ตัว คือ ติย, ถ, ฐ, ม, อี แทน ปูรณ ศัพท์ ลงหลังปกติสังขยาอย่างเดียวสังขยาตั้งแต่ เอกาทส ถึง อฏฺฐารส ถ้าต้องการให้เป็นลิงค์อื่นจากอิตถีลิงค์ ให้ลง ปัจจัย

- ติย ปัจจัย คือ

            - ทฺวินฺนํ ปูรโณ ทุติโย (ชน) เป็นที่เต็ม แห่งชน ท.๒ ชื่อว่าที่ ๒ (แปลตามรูปวิเคราะห์ก็ได้)

            - ติณฺณํ ปูรโณ ตติโย (ชน) เป็นที่เต็ม แห่งชน ท. ๓ ชื่อว่าที่ ๓

- ถ ปัจจัย คือ

            - จตุนฺนํ ปูรโณ จตุตฺโถ (ชน) เป็นที่เต็ม แห่งชน ท. ๔ ชื่อว่าที่ ๔

- ฐ ปัจจัย คือ

            - ฉนฺนํ ปูรโณ ฉฏฺโฐ (ชน) เป็นที่เต็ม แห่งชน ท.๖ ชื่อว่าที่ ๖

- ม ปัจจัย เช่น

            - ปญฺนฺนํ ปูรโณ ปญฺโม (ชน) เป็นที่เต็ม แห่งชน ท. ๕ ชื่อว่าที่ ๕

            - สตฺตนฺนํ ปูรโณ สตฺตโม (ชน) เป็นที่เต็ม แห่งชน ท. ๗ ชื่อว่าที่ ๗

- อี ปัจจัย เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว ลงได้ตั้งแต่ เอกาทส ถึง อฏฺฐารส เท่านั้น เช่น

            - เอกาทสนฺนํ ปูรณี เอกาทสี (หญิง) เป็นที่เต็ม แห่งหญิง ท. ๑๑ ชื่อว่าที่ ๑๑

            - ทฺวาทสนฺนํ ปูรณี ทฺวาทสี (หญิง) เป็นที่เต็ม แห่งหญิง ท.๑๒ ชื่อว่าที่ ๑๒

            ในตัทธิตนี้ มีศัพท์พิเศษศัพท์หนึ่งคือ อฑฺฒ แปลว่า กึ่ง หรือ ครึ่ง แปลงกับปูรณสังขยามีเศษเป็นครึ่ง ตั้งวิเคราะห์เป็นตติยาตัปปุริสสมาส และ อฑฺฒ ศัพท์ แปลงกับปูรณสังขยามีรูปต่าง ๆ ดังนี้

  • อฑฺเฒน ทุติโย ทิวฑฺโฒ, ทิยฑฺโฒ (ชโน ชน) ที่ ๒ ด้วย ทั้งกึ่ง ชื่อว่าที่ ๒ ด้วยทั้งกึ่ง
  • อฑฺเฒน ตติโย อฑฺฒติโย, อฑฺฒเตยฺโย (ชโน ชน) ที่ ๓ ด้วย ทั้งกึ่ง ชื่อว่าที่ ๓ ด้วยทั้งกึ่ง

ทิยฑฺฒํ สตํ ทิยฑฺฒสตํ                                   ร้อย ที่ ๒ ด้วยทั้งกึ่ง (ลำดับที่ ๒๐๐ โดยครึ่งหนึ่ง = ที่ ๑๕๐)

อฑฺฒติยํ สหสฺสํ อฑฺฒติยสหสฺสํ                    พัน ที่ ๓ ด้วยทั้งกึ่ง (ลำดับที่ ๓,๐๐๐ โดยครึ่งหนึ่ง = ที่ ๒,๕๐๐)

อฑฺฒุฑฺฒํ ทสสหสฺสํ อฑฺฒุฑฺฒทสสหสฺสํ      หมื่น ที่ ๔ ด้วยทั้งกึ่ง (ลำดับที่ ๔๐,๐๐๐ โดยครึ่งหนึ่ง = ที่ ๓๕,๐๐๐)

อฑฺฒปญฺจมํ สตสหสฺสํ อฑฺฒปญฺจมสตสหสฺสํ แสน ที่ ๕ ด้วยทั้งกึ่ง (ลำดับที่ ๕๐๐,๐๐๐ โดยครึ่งหนึ่ง = ที่ ๔๕๐,๐๐๐)

 

การแปลง อฑฺฒ ศัพท์กับสังขยาอื่น

            อฑฺฒ ต่อกับ ทุติย      แปลงเป็น        ทิวฑฺฒ ทิยฑฺฒ

            อฑฺฒ ต่อกับ ตติย      แปลงเป็น        อฑฒฺติย อฑฺฒติย อฑฺฒเตยฺย

            อฑฺฒ ต่อกับ จตฺตฺถ   แปลงงเป็น      อฑฺฒุฑฺฒ

 

การใช้ อฑฺฒ ต่อกับปูรณสังขยาจำนวนอื่น วาง อฑฺฒ ไว้หน้า เช่น

            อฑฺฒปญฺจม      ที่ห้าด้วยทั้งกึ่ง           อฑฺฒฉฏฺฐ        ที่หกด้วยทั้งกึ่ง

            อฑฺฒสตฺตม      ที่เจ็ดด้วยทั้งกึ่ง          อฑฺฒอฏฺฐม      ที่แปดด้วยทั้งกึ่ง

            อฑฺฒนวม        ที่เก้าด้วยทั้งกึ่ง           อฑฺฒทสม       ที่สิบด้วยทั้งกึ่ง

 

การใช้ อฑฺฒ กับปูรณสังขยา นับนามนาม

            ชนานํ ทิยฑฺฒสตํ        ร้อยที่ ๒ ด้วยทั้งกึ่ง แห่งชน ท. (ชน ที่ ๑๕๐)

            ทิยฑฺฒํ ชนสตํ                        ร้อยแห่งชน ที่ ๒ ด้วยทั้งกึ่ง (ชน ที่ ๑๔๐)

 

คัมภีร์ปทรูปสิทธิ แสดงว่า -กฺขตฺตุ ใช้แทน วาร ศัพท์ (ครั้ง คราว วาระ) ลง

หลังปกติสังขยา และ สกิ พหุ กติ ศัพท์ เช่น

                        เอก       เอกํ วารํ           เอกกฺขตฺตุ         ครั้งหนึ่ง, วาระหนึ่ง, คราวเดียว

                        ทฺวิ       เทว วาเร         ทฺวิกฺขตฺตุ         ๒ ครั้ง, ๒ วาระ

                        ติ          ตโย วาเร         ติกฺขตฺตุ            ๓ ครั้ง, ๓ วาระ

                        สตฺต     สตฺต วาเร        สตฺตกฺยตฺตุ       ๗ ครั้ง, ๗ วาระ

 

๑๒. สังขยาตัทธิต

สังขยาตัทธิต ใช้ ปัจจัย แทน ปริมาณ ศัพท์ และลงหลังปกติสังขยา เช่น

  • เทว ปริมาณานิ อสฺสาติ ทฺวิกํ ปริมาณ ท.เครื่องกำหนดนับ) ของวัตถุนั้น ๒ เหตุนั้น (วัตถุนั้น) ชื่อว่ามีปริมาณ ๒
  • ตีณิ ปริมาณานิ อสฺสาติ ติกํ ปริมาณ ท. ของวัตถุนั้น ๓ เหตุนั้น (วัตถุนั้น) ชื่อว่ามีปริมาณ ๓

 

๑๓. วิภาคตัทธิต

            วิภาคตัทธิต ใช้ปัจจัย ๒ ตัว คือ ธา, โส แทน วิภาค ศัพท์ เช่น

- ธา ปัจจัย เช่น

            - เอเกน วิภาเคน เอกธา โดยส่วน เดียว ชื่อว่าโดยส่วนเดียว

            - ทฺวีหิ วิภาเคหิ ทฺวิธา โดยส่วน ท.๒ ชื่อว่าโดยส่วนสอง

- โส ปัจจัย เช่น

            - ปเทน วิภาเคน ปทโส โดยความจำแนก โดยบท ชื่อว่าโดยจำแนกโดยบท

            - สุตฺเตน วิภาเคน สุตฺตโส โดยความจำแนก โดยสูตร ชื่อว่าโดยจำแนกโดยสูตร

 

๑๔. ภาวตัทธิต

ภาวตัทธิต ใช้ปัจจัย ๖ ตัว คือ ตฺต, ณฺย, ตฺตน, ตา, ณ, กณฺ ปัจจัย แทน ภาว ศัพท์

- ตฺต ปัจจัย เช่น

            - ลงในชื่อ จนฺทสฺส ภาโว จนฺทตฺตํ ความเป็น แห่งพระจันทร์ ชื่อว่าจันทัตตะ

            - ลงในชาติ มนุสฺสสฺส ภาว มนุสฺสตฺตํ ความเป็น แห่งมนุษย์ ชื่อว่ามนุสสัตตะ

            - ลงในทัพพะ ทณฺฑิโน ภาโว ทณฺฑิตฺตํ ความเป็น แห่งคนมีไม้เท้า ชื่อว่าทัณฑิตตะ

                - ลงในกิริยา ปาจกสฺส ภาโว ปาจกตฺตํ ความเป็น แห่งคนหุง ชื่อว่าปาจกัตตะ

            - ลงในคุณ นีลสฺส ภาโว นีลตฺตํ ความเป็น แห่งของเขียว ชื่อว่านีลัตตะ

- ณฺย ปัจจัย มีอำนาจให้พฤทธิ์ต้นศัพท์ แล้วลบ ให้แปลง กับที่สุดศัพท์เป็นอย่างอื่นบ้าง เป็นอย่างเดิมบ้าง เช่น

            - ปณฺฑิตสฺส ภาโว ปณฺฑิจฺจํ ความเป็นแห่งบัณฑิต ชื่อว่าปัณฑิจจะ (แปลง ตฺย เป็น จฺจ)

            - กุสลสฺส ภาโว โกสลฺลํ ความเป็น แห่งคนฉลาด ชื่อว่าโกสัลละ (แปลง ลฺย เป็น ลฺล)

            - สมณสฺส ภาโว สามญฺญํ ความเป็น แห่งสมณะ ชื่อว่าสามัญญะ (แปลง ณฺย เป็น ญฺญ)

            - สุหทสฺส ภาโว โสหชฺชํ ความเป็น แห่งเพื่อนมีใจดี ชื่อว่าโสหัชชะ (แปลง ทฺย เป็น ชฺช)

            - ปุริสสฺส ภาโว โปริสฺสํ ความเป็น แห่งบุรุษ ชื่อว่าโปริสสะ

            - นิปกสฺส ภาโว เนปกฺกํ ความเป็น แห่งคนมีปัญญารักษาไว้ซึ่งตน ชื่อว่าเนปักกะ

            - อุปมาย ภาโว โอปมฺมํ ความเป็น แห่งอุปมา ชื่อว่าโอปัมมะ

- ตฺตน ปัจจัย เช่น

            - ปุถุชฺชนสฺส ภาโว ปุถุชฺชนตฺตนํ ความเป็น แห่งปุถุชน ชื่อว่าปุถุชชนะ

            - เวทนาย ภาโว เวทนตฺตนํ ความเป็น แห่งความเป็นผู้มีเวทนา ชื่อว่าเวทนัตตนะ

            - ชายาย ภาโว ชายตฺตนํ ความเป็น แห่งความเป็นเมีย ชื่อว่าชายัตตนะ

            - ชารสฺส ภาโว ชารตฺตนํ ความเป็น แห่งความเป็นชู้ ชื่อว่าชารัตตนะ

- ตา ปัจจัย เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว เช่น

            - มุทุโน ภาโว มุทุตา ความเป็น แห่งคนอ่อน ชื่อว่ามุทุตา

            - นิทฺทารามสฺส ภาโว นิทฺทารามตา ความเป็น แห่งคนมีความหลับเป็นที่มายินดี ชื่อว่านิททารามตา

            - สหายสฺส ภาโว สหายตา ความเป็น แห่งสหาย ชื่อว่าสหายตา

- ณ ปัจจัย เช่น

            - วิสมสฺส ภาโว เวสมํ ความเป็น แห่งของเสมอปราศ (ไม่เสมอ) ชื่อว่าเวสมะ

            - สุจิโน ภาโว โสจํ ความเป็น แห่งของสะอาด ชื่อว่าโสจะ

            - มุทุโน ภาโว มทฺทวํ ความเป็น แห่งคนอ่อน ชื่อว่ามัททวะ

- ณ ปัจจัย คือ

            - รมณียสฺส ภาโว รามณียกํ ความเป็น แห่งของอันบุคคลพึงยินดี ชื่อว่ารามณียกะ

- มนุญฺญสฺส ภาโว มานุญฺญกํ ความเป็น แห่งของที่เป็นที่ฟูใจ ชื่อว่ามานุญญกะ

- ปัจจัยพิเศษ ๓ ตัว คือ ณิย เณยฺย พฺย ให้ใช้แทนภาวศัพท์เหมือนกัน ดังนี้

            - ลง ณิย ปัจจัย เช่น วีรสฺส ภาโว วิริยํ ความเป็นแห่งคนกล้า ชื่อว่าวิริยะ

                                       อลสสฺส ภาโว อาลสิยํ ความเป็นแห่งความเกียจคร้าน ชื่อว่าอาลสิยะ

            - ลง เณยฺย ปัจจัย เช่น สุจิโน ภาโว โสเจยฺยํ ความเป็นแห่งของสะอาด ชื่อว่าโสเจยยะ

            - ลง พฺย ปัจจัย เช่น ทาสสฺส ภาโว ทาสพฺยํ ความเป็นแห่งทาส ชื่อว่าทสัพยะศัพท์เหล่านี้ ตั้งวิเคราะห์เหมือน ตฺต ปัจจัย

 

ข้อควรจำ

            ศัพท์ลงปัจจัยภาวตัทธิตทั้งสิ้น เป็นนปุสกลิงค์ล้วน เว้นเฉพาะ ตา ปัจจัยเป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว

            ศัพท์ที่ลงปัจจัยภาวตัทธิต ลงหลังนามนาม แปลว่า ความเป็นแห่ง... เช่น มนุสฺสตฺตํ หรือ มนุสฺสภาโว ความเป็นแห่งมนุษย์, ถ้าลงหลังคุณนาม นามกิตก์ (เว้นภาวสาธนะ), กิริยากิตก์ (เว้น ตูนาทิปัจจัย) ต่อด้วยภาวศัพท์หรือภาวปัจจัย ให้แปลว่า “อ. ความที่แห่ง... เป็นผู้... เป็นหญิง... เป็นของ... เป็นสภาพ.. เป็นธรรมชาติ... ฯลฯ” คำว่า แห่ง.. ต้องแปลออกที่ตัวนามนามซึ่งคุดขึ้นมา ก่อนแต่จะแปลนามนามหรือกิตก์ที่ปัจจัย หรือภาวศัพท์ติดอยู่นั้น เช่น มหลฺลกภาโว อ.ความที่แห่งตนเป็นคนแก่

            ภาวสาธนะที่สำเร็จมาจาก ยุ ปัจจัย ในนามกิตก์ ต่อด้วย ภาว ศัพท์ หรือ ภาว ปัจจัย ในตัทธิตให้แปลว่า “....ความเป็นอัน...” ทุกตัว เช่น สตฺถุ คมนาภาโว แปลว่า อ.ความเป็นอันคืออันเสด็จไปแห่งพระบรมศาสดา เป็นต้น การแปลศัพท์ที่ลงปัจจัยภาวตัทธิตและภาวศัพท์นี้ ควรฝึกหัดแปลให้เข้าใจเมื่อกำหนดความได้แม่นยำแล้ว ก็จะแปลได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

๑๕. อัพยยตัทธิต

            อัพยยตัทธิต ใช้ปัจจัย ๒ ตัว คือ ถา, ถํ แทน ปการ ศัพท์ ลงหลังสัพพนาม

- ถา ปัจจัย เช่น

            - โย ปกาโร ยถา ประการใด

            - ยํ ปการํ ยถา ซึ่งประการใด

            - เยน ปกาเรน ยถา ด้วยประการใด

            - โส ปกาโร ตถา ประการนั้น

            - ตํ ปการํ ตถา ซึ่งประการนั้น

            - เตน ปกาเรน ตถา ด้วยประการนั้น

            - สพฺเพน ปกาเรน สพฺพถา โดยประการทั้งปวง

- ถํ ปัจจัย ลงหลัง กึ และ อิม เช่น

            - โก ปกาโร กถํ ประการไร

            - อยํ ปกาโร อิตฺถํ ประการนี้

 

ทธิตพิเศษ ๒ อย่าง

อุปมาตัทธิต ใช้ อายิตฺต ปัจจัย แทน วิย ทิสฺสติ เช่น

  • ธูโม วิย ทิสฺสตีติ ธูมายิตตฺตํ (วตฺถุ) วัตถุใด ย่อมปรากฏ ราวกะว่าควัน เพราะเหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่าปรากฏราวกะว่าควัน
  • ติมิรํ วิย ทิสฺสตีติ ติมารายิตตฺตํ (วตฺถุ) วัตถุใด ย่อมปรากฏ ราวกะว่าหมอก เพราะเหตุนั้นวัตถุนั้น ชื่อว่าปรากฏราวกะว่าหมอก

นิสสิตตัทธิต ใช้ ปัจจัย แทน นิสฺสิต และ ฐาน ศัพท์ เช่น

  • ทุฏฺฐุ วตฺถุ นิสฺสิตํ ทุฏฺฐุลฺลํ (กมฺมํ) กรรม อันอาศัยแล้ว ซึ่งวัตถุ อันชั่ว ชื่อว่าทุฏฐุลละ
  • ทุฏฺฐุโน (วตฺถุโน) ฐานํ ทุฏฺฐุลลํ (กมฺมํ) กรรม เป็นที่ตั้ง แห่งวัตถุ อันชั่ว ชื่อว่าทุฏฐุลละ
  • เวทสฺส ฐานํ เวทลฺลํ (สาสนํ) คำสั่งสอน อันอาศัยแล้ว ซึ่งพระเวท หรือ (คำสั่งสอน) เป็นที่ตั้งแห่งพระเวท ชื่อว่าเวทัลละ

 

สรุปลักษณะตัทธิต

            ๑. ศัพท์ที่ลงปัจจัยตัทธิต ท้ายนามศัพท์บ้าง อัพยยศัพท์บ้าง เพื่อแทนเนื้อความของศัพท์ต่าง ๆ ทั้งเป็นการย่อศัพท์ให้สั้นลงด้วยเป็นตัทธิต แต่ถ้าลงปัจจัยตัทธิตที่เป็นอัพยยะ ไม่ต้องลงวิภัตตินาม

            ๒. โคตตตัทธิต สมุหตัทธิต และภาวตัทธิต เป็นนามนาม ไม่ต้องมีอัญญบท หรือประธาน

            ๓. ตรตยาทิตัทธิต ชาตาทิตัทธิต สมุหตัทธิต เสฏฐตัทธิต ตทัสสัตถิตัทธิต ปกติตัทธิต สังขยาตัทธิต ปูรณตัทธิต เป็นคุณนาม

            ๔. วิภาคตัทธิต และอัพยยตัทธิต เป็นอลิงค์ แจกด้วยนามไม่ได้ เพราะเป็นอัพยยศัพท์

            ๕. ราคาทิตัทธิต ฐานตัทธิต เป็นได้ทั้งนามนามและคุณนาม

            ๖. ศัพท์เดียวอาจสำเร็จมาจากหลายตัทธิต เช่น นาครตา เป็นชาตาทิตัทธิตและสมุหตัทธิตวิเคราะห์ว่า นคเร ชาโต นาคโร (ชโน), นาครานํ สมุโห เป็น นาครตา แปลว่า ประชุม แห่งชาวเมือง

            ๗. นามนาม คุณนาม นามกิตก์ กิริยากิตก์ ที่เข้าสมาสนั้น ตัวประธานต้องเป็นฉัฏฐีวิภัตติ เช่น ทหรกาลโต ปฏฺฐาย แต่กาลแห่งตนเป็นคนหนุ่ม.

 

 

แบบฝึกหัด

๑. ศัพท์เช่นไรเรียกว่าศัพท์ตัทธิตฯ  ต่างจากศัพท์สมาสอย่างไรฯ

๒. ศัพท์ตัทธิต่างจากศัพท์นามกิตก์อย่างไรฯ

๓. ศัพท์ตัทธิตแจกวิภัตติได้หรือไม่ฯ  ปญฺโญ  เป็นศัพท์ตัทธิตหรือไม่ฯ  อธิบายด้วยฯ

๔. ปัจจัยกิตก์กับปัจจัยตัทธิตใช้ต่างกันอย่างไรฯ  สรณียํ  เป็นตัทธิตหรือกิตก์  มีวิธีกำหนดอย่างไรฯ

๕. ปูชนีโย  เป็นได้ทั้งตัทธิต  ทั้งกิตก์  รู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เป็นตัทธิตหรือกิตก์ฯ

๖. โภชโก,  โภคี  เป็นศัพท์ตัทธิตหรือกิตก์ฯ  มีความต่างกันอย่างไรฯ

๗. ในตัทธิตทั้งสิ้น  นิยมบทปลงเป็นลิงค์วจนะอะไรฯ

๘. ปัจจัยตัทธิต  ใช้ประกอบกับศัพท์พวกไหนได้บ้างฯ  ยกตัวอย่างด้วยฯ

๙. ตัทธิตโดยย่อมีเท่าไรฯ  โดยพิสดารมีเท่าไรฯ  อะไรบ้างฯ

๑๐.ยกเว้นวิภาคตัทธิตในสามัญญตัทธิตแล้ว  ตัทธิตไหน  เป็นนามอะไรฯ

๑๑.ปัจจัยตัทธิตอะไรที่ลงในศัพท์แล้ว  เป็นนามนามฯ  จงอธิบายฯ

๑๒. ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ลงในศัพท์แล้ว เป็นนามนามฯ จงยกตัวอย่างฯ

๑๓. ที่ได้ชื่อว่าโคตตตัทธิต เพราะอะไรฯ

๑๔. ตัทธิตนี้ ใช้ปัจจัยแทนศัพท์กี่ตัวฯ อะไรบ้างฯ ยกตัวอย่างด้วยฯ

๑๕. โคตตตัทธิตมีวิธีตั้งวิเคราะห์อย่างไรฯ ยกตัวอย่างด้วยฯ

๑๖. เมื่อลงปัจจัยในโคตตตัทธิตแล้ว ต้องทำอย่างไรฯ

๑๗. โคตตตัทธิตเป็นตัทธิตนามหรือคุณฯ เป็นได้กี่ลิงค์ฯ ยกตัวอย่างด้วยฯ

๑๘. เหตุใด จึงเรียกว่า ตรตยาทิตัทธิตฯ มีปัจจัยกี่ตัวฯ อะไรบ้างฯ

๑๙. ณิก ปัจจัย ในโคตตตัทธิตและตรตยาทิตัทธิต ใช้ต่างกันอย่างไรฯ

๒๐. ตรตยาทิตัทธิต ใช้ ณิก ปัจจัย แทนศัพท์อะไรได้บ้างฯ

๒๑. ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต ลงในอรรถหลายอย่าง รู้ได้อย่างไรเมื่อลงในศัพท์นั้น แปลว่าอย่างนั้นฯ

๒๒. ณิก ปัจจัย ลงในตัทธิตอะไรบ้างฯ ใช้ต่างกันอย่างไรฯ

๒๓. จงแปลและตั้งวิเคราะห์ศัพท์ว่า เสนาสนิโก มาดูสัก ๕ อย่าง ฯ

๒๔. ตัทธิตนี้ เป็นนามหรือคุณฯ การตั้งวิเคราะห์ในตัทธิตนี้ มีวิธีการอย่างไรฯ

๒๕. ราคาทิตัทธิต ใช้ปัจจัยแทนศัพท์กี่ตัวฯ ปัจจัยอะไรใช้แทนศัพท์ไหนฯ

๒๖. ตัทธิตนี้ เป็นนามหรือคุณฯ ต่างจากตรตยาทิตัทธิตอย่างไรบ้างฯ

๒๗. ตัทธิตไหนบ้าง ใช้ปัจจัยแทนศัพท์เป็นอันมากฯ

๒๘. นาคริโก, นาคโร แปลว่า ชาวเมือง เป็นตัทธิตเดียวกันหรือต่างกันฯ จงวิเคราะห์มาดูฯ

๒๙. ตัทธิตอะไรใช้ปัจจัยแทนศัพท์โดยไม่มีจำกัดฯ รู้ได้อย่างไรว่าในที่นั้น ๆ ใช้ปัจจัยแทนศัพท์เหล่านั้น

๓๐. ณ ปัจจัย ในตัทธิตนี้ ลงในอรรถอะไรบ้างฯ มีวิธีการทำอย่างไรฯ

๓๑. เหตุใด จึงชื่อว่าชาตาทิตัทธิตฯ ใช้ปัจจัยแทนศัพท์อะไรบ้าง ยกตัวอย่างด้วยฯ

๓๒. ชาตาทิตัทธิตเป็นนามหรือคุณฯ เพราะเหตุใดฯ โสตฺถิโก, โสตฺถิโย แปลว่า (ชน) ถึงซึ่งความสวัสดี เป็นตัทธิตอะไรฯ จงตั้งวิเคราะห์ฯ

๓๓. การตั้งวิเคราะห์ชาตาทิตัทธิต มีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้างฯ

๓๔. การตั้งวิเคราะห์และคำแปลศัพท์ชาตาทิตัทธิตและตทัสสัตถิตัทธิตเหมือนกัน จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นตัทธิตไหนฯ ปุตฺติมา เป็นตัทธิตอะไร ตั้งวิเคราะห์อย่างไร

๓๕. สมุหตัทธิตหมายถึงอะไรฯ มีปัจจัยกี่ตัวฯ อะไรบ้างฯ ปัจจัยตัวไหนเป็นเครื่องหมายลิงค์อะไรฯ

๓๖. ตัทธิตนี้ เป็นคุณหรือนามฯ ต่างจากราคาทิตัทธิตอย่างไรบ้างฯ

๓๗. เหตุใด ในรูปวิเคราะห์ตัทธิตนี้ จึงบังคับให้ประกอบศัพท์นามเป็นพหุวจนะฯ

๓๘. ถ้าแปล นคร ศัพท์ว่า ประชุมแห่งชาวเมือง เป็นตัทธิตอะไรฯ จงตั้งวิเคราะห์ฯ

๓๙. คามตา เป็นตัทธิตอะไรฯ แปลว่าอะไรฯ จงแสดงที่มาของศัพท์ ตั้งแต่เป็นนามจนถึงตัทธิตนี้ฯ

๔๐. ศัพท์ที่ลง ปัจจัย ในแต่ละตัทธิต ต่างกันอย่างไรฯ วิเคราะห์มาดูด้วยฯ

๔๑. ฐานตัทธิต มีปัจจัยกี่ตัวฯ อะไรบ้างฯ ปัจจัยนี้ใช้แทนศัพท์อะไร

๔๒. ฐานตัทธิต เป็นนามพวกไหนฯ โภชนียํ ตั้งวิเศษห์อย่างไร

๔๓. ปัจจัยในตัทธิตนี้ ใช้ประกอบกับศัพท์พวกไหน

๔๔. พหุลตัทธิต ใช้ปัจจัยอะไรแทนพหุลศัพท์

๔๕. เหตุใดในรูปวิเคราะห์จึงใข้ ปกติ แทน พหุล

๔๖. ตัทธิตนี้ เป็นได้กี่ลิงค์ เหตุใด จึงเป็นได้เช่นนี้

๔๗. ปัจจัยในตัทธิตนี้ ใช้ประกอบกับศัพท์พวกไหน

๔๘. ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัยกี่ตัว ตัวไหนใช้อรรถอย่างไร

๔๙. ปัจจัยในเสฏฐตัทธิต มีเท่าไร ใช้ในที่ต่างกันอย่างไร

๕0. อิย ปัจจัย ลงในอรรถแห่งตัทธิตอะไรบ้าง ศัพท์ที่ประกอบปัจจัยนี้ต้องเป็น คุณนามเท่านั้นมิใช่หรือ จะจัดเป็นชั้นยิ่งและหย่อนตามคุณศัพท์นั้นๆ อย่างไร

๕๑. ปัจจัย ๕ ตัวนั้น เป็นเครื่องหมายคุณนามชั้นไหนบ้าง

๕๒. เสฏฐตัทธิตลงปัจจัยในศัพท์ไหน เป็นนามศัพท์พวกไหน

๕๓. เสยฺโย,เชยฺโย ลงปัจจัยอะไร เหตุใด จึงเป็นรูปอย่างนั้น วิเคราะห์ด้วย

๕๔. กานิโย,เชฏโฐ แต่ละศัพท์เป็นศัพท์ชั้นไหน วิเคราะห์อย่างไร

๕๕. จงประกอบ ปุญฺญ  ศัพท์ ตามปัจจัยทั้ง ๕ ในเสฏฐตัทธิตมาดู

๕๖. ปณฺฑิต ศัพท์ ถ้าแปลว่า “ชนมีชาติแห่งบัณฑิต, เกิดแล้วโดยชาติแห่งบัณฑิตเป็นบัณฑิตกว่า” แต่ละคำแปลเป็นตัทธิตอะไร จงตั้งวิเคราะห์

๕๗. ตัทธิตนี้ ใช้ปัจจัยแทนศัพท์กี่ตัว อะไรบ้าง ใช้แทนศัพท์อะไร

๕๘. ตัทธิตนี้ จัดเป็นนามหรือคุณ หรือเป็นได้ทั้งสองยกตัวอย่างด้วย

๕๙. ในปัจจัย ๙ ตัวนั้น ตัวไหนนิยมลงในศัพท์อย่างไร

๖0. อายสฺมา ลงปัจจัยอะไร วิเคราะห์อย่างไร เหตุใด จึงเป็นรูปเช่นนั้น

๖๑. โภโค,โภคี,ยสสี แปลว่าอย่างไร ลงปัจจัยอะไร วิเคราะห์อย่างไร

๖๒. ธมฺมิโก,อนาถปิณฺฑิโก ต่างก็เป็นชื่อของอุบาสก รูปวิเคราะห์ต่างกันหรือไม่ จงอธิบาย

๖๓. อนฺติมา,ปุตฺติมา,สตฺตมา  ศัพท์ไหน ลงปัจจัยอะไร มีรูปลิงค์ไหน

๖๔. ตัทิตนี้มีปัจจัยกี่ตัว คืออะไร ใช้แทนศัพท์อะไรบ้าง

๖๕. มย ปัจจัย นิยมลงในศัพทืชนิดไหน ยกตัวอย่างด้วย

๖๖. โสวณฺณมยํ เปฌนศัพท์นามหรือคุณ ตั้งวิเคราะห์อย่างไร

๖๗. ปูรณตัทธิต มีปัจจัยเท่าไรฯ อะไรบ้างฯ ใช้แทนศัพท์อะไรฯ

๖๘. ปัจจัยทั้ง ๕ นี้ มีกฎเกณฑ์ให้ลงในศัพท์พวกไหนหรือไม่ฯ เมื่อลงกับศัพท์พวกนั้นแล้ว ทำศัพท์พวกนั้นให้คงที่อยู่หรือเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรฯ ยกตัวอย่างให้เห็นด้วยฯ

๖๙.    ตัทธิตนี้  เป็นคุณทั้งหมดใช่หรือไม่ฯ  เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์  หรืออย่างไรฯ

๗๐.     ปัจจัยในปูรณตัทธิตประกอบกับศัพท์สังขยาเพียงแต่เป็นสังขยาแล้วก็ประกอบได้ทุกตัวหรือมีจำกัดอย่างไรฯ  จงอธิบายฯ

๗๑.     อี  ปัจจัย  ในตทัสสัตถิตัทธิต  กับปูรณตัทธิต  มีวิธีใช้ต่างกันอย่างไรฯ

๗๒.   อี  ปัจจัย  ลงในสังขยาตั้งแต่  เอกาทส  ถึง  อฏฺฐารส  แล้วปัจจัยอื่นมาลงกับสังขยาเหล่านี้ได้หรือไม่

๗๓.    คำว่า  อฑฺฒ  ซึ่งแปลว่า  กึ่ง  ได้แก่จำนวนเท่าไรฯ  ใช้อย่างไรฯ

๗๔.    จงประกอบสังขยา  จตุ,  จตุทฺทส  ลงในปูรณตัทธิตพร้อมตั้งวิเคราะห์ฯ

๗๕.   สังขยาตัทธิต  มีปัจจัยกี่ตัวฯ  ใช้แทนศัพท์อะไรฯ  ยกตัวอย่าวด้วยฯ

๗๖.     ปัจจัยในตัทธิตนี้ใช้ลงในศัพท์พวกไหนฯ  สตฺตกํ  วิเคราะห์อย่างไร ฯ

๗๗.   ตัทธิตนี้  เป็นนามหรือคุณฯ  เป็นได้กี่ลิงค์ฯ  ยกตัวอย่างด้วยฯ

๗๘.    ปัจจัยใน วิภาคตัทธิตประกอบกับศัพท์ทั่วไปหรือเฉพาะศัพท์ฯ  แจกด้วยวิภัตตตินามทั้ง ๗ อย่างไรฯ

๗๙.     ปัจจัยในตัทธิตนี้ใช้แทนศัพท์อะไรฯ  มีหลักการใช้อย่างไรฯ

๘๐.     ตัทธิตนี้จัดเป็นลิงค์อะไรฯ สตฺตธา  แปลว่าอย่างไรฯ  ตั้งวิเคราะห์ด้วยฯ

๘๑.     ภาวตัทธิต  มีปัจจัยกี่ตัวฯ  อะไรบ้างฯ  ใช้แทนศัพท์อะไรฯ

๘๒.   ตัทธิตนี้  เป็นนามหรือคุณฯ  เป็นได้กี่ลิงค์  ลิงค์ไหนบ้างฯ

๘๓.    ให้ยกตัวอย่างศัพท์ที่ลงปัจจัยในตัทธิตนี้  มาอย่างละศัพท์ฯ

๘๔.    ปัจจัยในตัทธิตนี้  ลงในศัพท์พวกไหนบ้างฯ  ยกตัวอย่างดัวยฯ

๘๕.    อาชฺชวํ,  มทฺทวํ  เป็นตัทธิตอะไรฯ  จงวิเคราะห์มาดูฯ

๘๖.     ตา  ปัจจัย  ลงในตัทธิตอะไรบ้างฯ  จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นตัทธิตนั้นฯ

๘๗.    อัพยยตัทธิต  มีปัจจัยกี่ตัวฯ  อะไรบ้างฯ  เมื่อลงแล้ว  จัดเป็นลิงค์อะไรฯ

๘๘.    ถา  ทา  ธา  ปัจจัย  ตัวไหน  ลงในตัทธิตชื่ออะไรฯ  ยกตัวอย่างด้วยฯ

๘๙.     ปกติสังขยา  สัพพนาม  ลงปัจจัยแล้วเป็นตัทธิตอะไรฯ  ยกตัวอย่างด้วยฯ

๙๐.      ภิกฺขุ,  ภิกฺโข  เป็นตัทธิตหรือกิตก์ ฯ จงแปลและตั้งวิเคราะห์มาดู

๙๑.      คำศัพท์ต่อไปนี้ ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน แล้วตั้งวิเคราะห์ พร้อมเขียนแปล

         มาดูด้วย

                  ๙๑.๑ วารุณิ                ๙๑.๒ มานโว                ๙๑.๓ เวธเวโร

                  ๙๑.๔ เตลิกํ                 ๙๑.๕ สากุณิโก           ๙๑.๖ มาคโธ

                  ๙๑.๗ ปุตฺติโม             ๙๑.๘ อสฺสชาติโย         ๙๑.๙ มานุสโก

                  ๙๑.๑๐ ชนตา              ๙๑.๑๑ มทนียํ             ๙๑.๑๒ ปูชเนยฺโย

                  ๙๑.๑๓ ทยาลุ              ๙๑.๑๔ ปาปตโร           ๙๑.๑๕ ปณีตตโร

                  ๙๑.๑๖ ปาปิโย             ๙๑.๑๗ มายาวี            ๙๑.๑๘ อตฺถิโก

                  ๙๑.๑๙ สุขี                  ๙๑.๒๐ คุณวา             ๙๑.๒๑ ปุญฺญวา

                  ๙๑.๒๒ สติมา               ๙๑.๒๓ สทฺโธ             ๙๑.๒๔ มตฺติกามยํ

                  ๙๑.๒๕ ทุติโย              ๙๑.๒ปณฺฑิจฺจํ          ๙๑.๒๗ ทาสพฺยํ

 

แบบฝึกหัดแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทย

            (๑) พฺราหฺมณี “สามิ อหํ ทิวา คมิสฺสามีติ สาฏกํ ปารุปิตฺวา อคมาสิ ฯ   พฺราหฺมโณ ทิวสภาคํ เคเห วีตินาเมตฺวา รตฺตึ คนฺตฺวา สตฺถุ ปุรโต นิสินฺโน ธมฺมํ อสฺ-โสสิ ฯ อถสฺส สรีรํ ผรมานา ปญฺจวณฺณา ปีติ อุปฺปชฺชิ ฯ โส สตฺถารํ ปูชิตุกาโม หุตฺ-วา “สเจ อิมํ สาฏกํ ทสฺสามิ, เนว พฺราหฺมณิยา, น มยฺหํ ปารุปนํ ภวิสฺสตีติ จินฺเตสิฯ

            อ.นางพราหมณี (วตฺวา กล่าวแล้ว) ว่า ข้าแต่นาย อ.ดิฉัน จักไป ในเวลากลางวัน ดังนี้ ห่มแล้วซึ่งผ้าสาฎก ได้ไปแล้ว ฯ อ.พราหมณ์ ยังส่วนแห่งวัน ให้น้อมไปล่วงวิเศษแล้ว ในเรือน ไปแล้ว ในเวลากลางคืน นั่งแล้ว ข้างพระพักตร์ ของพระบรมศาสดา ได้ฟังแล้ว ซึ่งธรรม ฯ ครั้งนั้น อ.ปีติ มีวรรณะ ๕ เกิดขึ้นแล้ว แผ่ไปอยู่ ตลอดสรีระ (ของพราหมณ์) นั้น ฯ (อ.พราหมณ์) นั้น เป็นผู้ใคร่เพื่ออันบูชาซึ่งพระบรมศาสดา เป็น คิดแล้วว่า ถ้าว่า (อ.เรา) จักถวาย ซึ่งผ้าสาฎกผืนนี้ไซร้, (ปารุปนํ อ.ผ้าเป็นเครื่องห่ม) ของนางพราหมณี (ภวิสฺสติ จักมี) หามิได้นั่นเทียว, อ.ผ้าเป็นเครื่องห่ม ของเรา จักมี หามิได้ ดังนี้ ฯ

            (๒) อถสฺส มจฺเฉรจิตฺตานํ สหสฺสํ อุปฺปชฺชิ, ปุเนกํ สทฺธาจิตฺตํ อุปฺปชฺชิ; ตมฺปิ อภิภวนฺตํ ปุน มจฺเฉรสหสฺสํ อุปฺปชฺชิ ฯ อิติสฺส พลวมจฺเฉรํ พนฺธิตฺวา คณฺหนฺตํ วิย สทฺธาจิตฺตํ ปฏิพาหติเยว ฯ ตสฺส “ทสฺสามิ น ทสฺสามีติ จินฺเตนฺตสฺเสว, ปฐมยาโม วี-ติวตฺโต ฯ ตโต มชฺฌิมยาเม สมฺปตฺเต, ตสฺมึปิ ทาตุ นาสกฺขิ ฯ

            ครั้งนั้น อ.พัน แห่งจิตดวงประกอบพร้อมแล้วด้วยความตระหนี่ ท. เกิดขึ้นแล้ว แก่พราหมณ์นั้น, อ.จิตดวงประกอบพร้อมด้วยศรัทธา ดวงหนึ่ง เกิดขึ้นแล้ว อีก, อ.พันแห่งจิตดวงประกอบพร้อมแล้วด้วยควารตระหนี่ เกิดขึ้นแล้ว ครอบงำอยู่ (ซึ่งจิตดวงประกอบพร้อมแล้วด้วยศรัทธา) แม้นั้น อีก ฯ อ.ความตระหนี่มีกำลัง (แห่งพราหมณ์) นั้น ราวกะว่าผูกถือเอาอยู่ ย่อมห้าม ซึ่งจิตดวงประกอบพร้อมแล้วด้วยศรัทธานั่นเทียว ด้วยประการฉะนี้ ฯ (เมื่อพราหมณ์) นั้น คิดอยู่ว่า อ.เรา จักถวาย, อ.เรา จักไม่ถวายดังนี้นั่นเทียว, อ.ปฐมยาม เป็นไปล่วงวิเศษแล้ว (ย่อมเป็น) ฯ แต่กาลนั้น เมื่อมัชฌิมยาม ถึงพร้อมแล้ว, (อ.พราหมณ์นั้น) ไม่ได้อาจแล้ว เพื่ออันถวาย (ในมัชฌิมยาม) แม้นั้น ๆ

 

            น + เอว          = เนว                                    ภวิสฺสติ + อิติ = ภวิสฺสตีติ

            อถ + อสฺส      = อถสฺส                                  ปุน + เอกํ       = ปุเนกํ

            ตํ + อปิ          = ตมฺปิ                                   อิติ + อสฺส      = อิติสฺส

            ทสฺสามิ + อิติ = ทสฺสามีติ                                น + อสกฺขิ      = นาสกฺขิ

 

เขียนโดย taninkam

ที่มา http://taninkha.blogspot.com

  • Author: admin
  • Hits: 33270
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search