คู่มือ วิชาแปล ป.ธ.๙ (อารัมภกถา + ปริจเฉทที่ ๑)

คู่มือ

วิชา แปลมคธเป็นไทย ป.ธ.๙

(ฉบับความเข้าใจ)

      เนื่องจากปัจจุบัน การศึกษา วิชา แปลมคธเป็นไทย ของชั้น ประโยค ป.ธ.๙ (วิชา แปล) ค่อนข้างลำบากสำหรับนักเรียน นักศึกษาหลายๆ ท่าน เพราะการจะแปลพระอภิธรรมฏีกาให้ถูกต้องตามสะภาวธรรมนั้น ผู้แปลต้องมีความเข้าใจในพระอภิธรรมระดับหนึ่ง ฉะนั้น จึงเป็นการยากสำหรับผู้ไม่เคยศึกษาพระอภิธรรมมาก่อน 

     อนึ่ง ผู้เขียนพอจะมีความรู้อยู่บ้าง และในระหว่างที่ศึกษา ชั้น ประโยค ป.ธ.๙ อยู่นั้น ได้พิมพ์เก็บไว้ทบทวนส่วนตัว พอกาลเวลาผ่านไปหลังจากสอบผ่านแล้ว จึงเห็นว่าข้อมูลชุดนี้ อาจจะมีประโยชน์อยู่บ้าง จึงได้นำมาเผยแพร่

เพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้สนใจใคร่ศึกษาสืบไป

ตัวอย่าง

 

อรูปธมฺมานํ (วิภาวินี. (บาลี) ๒๕๕๔ : ๖๗) แปลว่า อรูปธรรม หรือ นามธรรม ก็ได้

หีนุกฺกฏฺฐอุกฺกฏฺฐตรอุกฺกฏฺฐตมานุกฺกเมน (วิภาวินี. (บาลี) ๒๕๕๔ : ๖๘) แปลว่า ตามลำดับที่ต่ำ สูง สูงกว่า และสูงที่สุด (พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน), ๒๕๕๑ : ๘)           

      อธิบาย : จิต มี ๔ อย่าง ได้แก่                                         

- หีน            หมายถึง กามาวจรจิต ๕๔ ดวง                                               

- อุกฺกฏฺฐ       หมายถึง รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง                                                   

- อุกฺกฏฺฐตร    หมายถึง อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง                                     

- อุกฺกฏฺฐตม   หมายถึง โลกุตตรจิต ๘/๔๐ ดวง           

                                                                      

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและแบบฝึกหัด ตาม pdf ด่านล่าง


Loading...

  • Author: supanat
  • Hits: 3582
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search