#

อสีติมหาสาวก

อสีติมหาสาวก คือ พระภิกษุสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้า

ความหมายของคำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ ตามรูปศัพท์ คำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ เป็นคำสมาสประกอบด้วยคำ ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ คำว่า ‘อสีติ’ เป็นปกติสังขยา คือ จำนวนนับตามปกติ แปลว่า ‘๘๐’ ส่วน ‘มหาสาวก’ ประกอบด้วยคำว่า ‘มหา’ ซึ่งเป็นคุณศัพท์แปลว่า ใหญ่,มาก, สำคัญ และคำว่า ‘สาวก’ ซึ่งเป็น คำนามกิตก์ ประกอบรูปมาจากธาตุ ‘สุ’ (ในความหมายว่าฟัง) +ปัจจัย ณฺวุ มีรูปศัพท์ ว่า ‘สาวก’ แปลว่า ผู้ฟัง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุผู้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดคืออรหัตผล

ดังนั้นคำว่า ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ เมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็นคำสมาส เป็น ‘อสีติมหาสาวก’ จึงแปลว่า พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป

ปิณโฑลภารทวาช (พระปิณโฑลภารทวาชเถระ)

ปิณโฑลภารทวาช (พระปิณโฑลภารทวาชเถระ)

การไม่ว่าร้ายกัน ๑ การไม่เบียดเบียนกัน ๑ การสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัต ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑

นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ

ปิลินทวัจฉ (พระปิลินทวัจฉเถระ)

ปิลินทวัจฉ (พระปิลินทวัจฉเถระ)

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดี แล้ว และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เมื่อท่านละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง เป็นพระเจ้าประเทศราช อันไพบูลย์โดยคณานับมิได้

ปุณณก(พระปุณณกเถระ)

ปุณณก(พระปุณณกเถระ)

เราย่อมกล่าวว่า ความหวั่นไหวในโลกไหนๆ มิได้มีแก่พระอรหันตขีณาสพใด เพราะทราบฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก

พระอรหันตขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ ขจัดทุจริต เพียงดังว่าควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ได้ข้ามแล้ว ซึ่งชาติและชรา.

ปุณณชิ (พระปุณณชิเถระ)

ปุณณชิ (พระปุณณชิเถระ)

พระปุณณชิเถระ เป็นหนึ่งในพระมหาเถระลำดับแรก ๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้รับการบรรพชาโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยได้รับการบวช จากพระบรมศาสดา ต่อจากพระยสเถระ ถ้าถือตามลำดับชื่อที่ปรากฏในพระบาลีท่านก็เป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๙ ของโลก

ปุณณมันตานีบุตร (พระปุณณมันตานีบุตรเถระ)

ปุณณมันตานีบุตร (พระปุณณมันตานีบุตรเถระ)

ดูกรท่านอานนท์ เปรียบเสมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มรุ่นสาว มีนิสัยชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะ ไม่ยึดถือจึงไม่เห็น ฉันใด.

<<  1 2 3 4 [56 7 8 9  >>  
48574834
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
41980
74766
41980
48264582
788590
1272582
48574834

Your IP: 216.244.66.242
2024-12-22 17:28
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search