สามเณรกล้าตะวัน พุ่มไสว

สามเณรบวชอุทิศชีวิตรูปที่ ๒  

สามเณรกล้าตะวัน  พุ่มไสว   ป.ธ. ๔

หลังบวชแล้วจะได้รับฉายาว่า “รวิชโย”

 

       สามเณรโชคดีมากที่เข้าวัดตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เพราะครอบครัวสามเณรเข้าวัด

ตั้งแต่สามเณรยังไม่เกิด จากการทำหน้าที่กัลยาณมิตรของหลวงลุง ด้วยเหตุนี้โยมแม่ก็

จะปลูกฝังสามเณรตลอดว่า โตขึ้นบวชให้แม่นะ บวชแล้วจะดีอย่างนั้นอย่างนี้ อีกทั้ง

เวลาพาไปวัด โยมแม่ก็จะถามสามเณรว่า เห็นพระไหม... ลูกอยากเป็นพระที่สง่างามไหม

ที่สำคัญโยมพ่อโยมแม่จะสอนให้กราบเท้าท่านก่อนนอนทุกคืน หลังกราบเสร็จ

ท่านก็จะลูบหัวแล้วบอกว่า โตขึ้นบวชให้แม่นะลูกนะ ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่

สามเณรจะมีความคิดอยากบวชตั้งแต่เล็ก ๆ

      พอปิดเทอมตอนอนุบาล ๒ สามเณรก็ได้สมัครเข้าโครงการเตรียมยุวธรรมทายาท

กับทางศูนย์เด็ก ตอน ป.๑ ก็บวชภาคฤดูร้อนที่ปราจีนบุรี ป.๒ บวชที่ถ้ำเขาวง

พอจบ ป.๖ ก็บวชในโครงการหน่อแก้วเปรียญธรรมรุ่นที่ ๑ ในปี พ.ศ.๒๕๕๕

     ช่วงวัยเด็กโยมแม่จะให้มาวัด มาเป็นอาสาสมัครตั้งแต่เด็ก แล้วก็ได้มีโอกาส

ไปยืนถวายการต้อนรับหลวงพ่อ ซึ่งพอหลวงพ่อมาถึง ท่านจะถามว่า "ใครจะบวชบ้างจ๊ะ"

ตอนนั้นเด็ก ๆ ในกลุ่มทุกคนก็จะตอบพร้อมกันว่า “ผมจะบวชตลอดชีวิตครับ”

      การมาวัดตั้งแต่เล็กๆ สามเณรคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก อย่าคิดว่าเด็กไม่เข้าใจธรรมะ

เพราะธรรมะจะซึมเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ธรรมะจะทำให้สอนตัวเองได้

อย่างตอนเด็ก ๆ ถ้าโดนเพื่อนแกล้ง เพื่อนล้อ สามเณรก็จะคิดว่าที่เพื่อนแกล้งนั้นเป็นเพราะ

เขายังเห็นเราอยู่ในสายตา การแกล้งเป็นการที่เพื่อนเข้าหาเราอีกรูปแบบหนึ่ง พอคิด

แบบนี้เราก็จะไม่โกรธ ไม่แกล้งคืน แถมยังทำให้เรามีความสุข

      หลังจากบวชพระแล้ว สามเณรมีเป้าหมายอยากที่จะนั่งสมาธิ อยากเข้าถึงความสุขภายใน

เพื่อยืนยันคำสอนหลวงปู่ หลวงพ่อ ว่าพระธรรมกายภายในมีอยู่จริง จนสามารถพูดได้

อย่างเต็มปากเต็มคำ

      การที่สามเณรตั้งใจบวชอุทิศชีวิตเป็นเพราะอยากทำตัวเองให้ดี แล้วก็อยากให้โ

โยมพ่อโยมแม่ได้บุญกับสามเณรเยอะที่สุดเท่าที่จะเยอะได้

สุดท้ายนี้ สามเณรอยากบอกว่า การที่ใครคอนหนึ่งจากบ้านมาตั้งแต่เด็ก ๆ

และอยู่มาเรื่อย ๆ ว่ายากแล้วนั้น การที่จะอยู่ให้ถึงบวชอุทิศชีวิตยิ่งอยากกว่า บางที

สามเณรบางรูปมีกำลังใจดี อยากบวชไปเรื่อย ๆ แต่พ่อแม่ไม่เห็นด้วย ให้สึกออกไปก็มี

มี ที่มีปัญหาอื่น ๆ จนกระทั่งออกไปก็มี กว่าจะผ่านมาถึงจุดนี้ได้ ๘ - ๙ ปี ที่ต้อง

ทุ่มเทฝึกตัวมา จากวันแรกที่เห็นเพื่อนมาบวชด้วยกันประมาณ ๒๐๐ รูป ผ่านมา

อาทิตย์หนึ่งเหลือประมาณ ๑๘๐ รูป ผ่านมาปีหนึ่งเหลือ ๘๐ รูป พอครบอายุบวชพระ

ได้ในปีนี้ และมีความตั้งในบวชอุทิศชีวิตเหลือแค่ ๔ รูปเท่านั้น ดังนั้นคำว่า

“อุทิศชีวิต” คือคำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว......

 

640411 บวชอุทิศชีวิต-109
640411 บวชอุทิศชีวิต-152
640411 บวชอุทิศชีวิต-166
640411 บวชอุทิศชีวิต-184
640411 บวชอุทิศชีวิต-2
640411 บวชอุทิศชีวิต-20
640411 บวชอุทิศชีวิต-40
640411 บวชอุทิศชีวิต-46
640411 บวชอุทิศชีวิต-71
80554
80564
80573
80579
80584
80591
80595

Search





47376799
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
41815
54808
241562
46849926
863137
1172714
47376799

Your IP: 72.14.201.155
2024-11-21 17:50
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search