โรงเรียนพระปริยัติธรรม

โครงสร้างการบริหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย

 

Icon 01

 

พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

เจ้าอาวาส เจ้าสำนักศาสนศึกษา วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี


 

Icon 01

 

พระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว)

รองเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี


Icon 01

 

พระมหา ดร.สุธรรม สุรตโน ป.ธ.๙

อาจารย์ใหญ่สำนักศาสนศึกษา วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี

 


คณะบริหารโรงเรียน

  • แผนกเลขานุการ
  • แผนกบาลี
  • แผนกธรรม
  • แผนกอภิธรรม
  • แผนกพัฒนาสื่อการเรียนรู้นักธรรม,บาลี
  • แผนกสารสนเทศ
  • แผนกภาษาต่างประเทศ
  • แผนกวิชาพื้นฐาน
  • แผนกสามเณรเตรียมนวกะ
  • โซนการศึกษา ๒

ประวัติความเป็นมา

ด้วยมโนปณิธานอันแน่วแน่ของพระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและประธานมูลนิธิธรรมกาย ที่จะสร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ สร้างคนให้เป็นคนดี และเจตจำนงมั่นในการอุทิศชีวิตเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา อันจะน้อมนำพระธรรมไปสู่มวลมนุษยชาติ ดังนั้น นองเหนือจากการเน้นในการเจริญสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายแล้ว หลวงพ่อยังได้ตระหนักในคุณค่าของการศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ได้เริ่มเข้ามาอุปสมบทในปี พ.ศ.๒๕๑๒

ในจุดเริ่มต้นได้ศึกษาปริยัติธรรม ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ปีต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมที่จังหวัดปทุมธานี คณะผู้บุกเบิกในการสร้างวัดก็ได้ทยอยอุปสมบทมาเป็นลำดับๆ อาทิเช่น พระพิพัฒน์ ฐิตสุทฺโธ พระเผด็จ ทตฺตชีโว(ปัจจุบันดำรงสมณศักด์เป็นพระราชภาวนาจารย์) ในยุคแรกๆ ของการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ยังคงเดินทางไปเรียนกันที่วัดปากน้ำเจริญ

จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๒๘ ในช่วงก่อนเข้าพรรษา ได้เริ่มมีการบวชพระบัณฑิตอาสาพัฒนาหรือเรียกว่า "พระธรรมทายาทภาค-พรรษา"โดยทางคณะสงฆ์วัดพระธรรมกาย ได้มอบหมายให้ พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ เป็นพระพี่เลี้ยงดูแลความเป็นอยู่ของพระบวชใหม่ และมอบหมายให้ พระดิลก กิตฺติลโก ขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ให้เป็นผู้ดำเนินการทางด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม

ปลายปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีการเปิดรับสามเณรเข้ามาอยู่ในวัดพระธรรมกายเป็นครั้งแรก จำนวน ๕ รูป และให้เรียนบาลีไวยากรณ์ควบคู่ไปด้วยโดยเปิดชั้นเรียนที่อาคารปุโรหิต นัดเป็นจุดเริ่มต้นการศึกษาพระปริยัติธรรมของวัดพระธรรมกายอย่างจิงจัง

 

ในปีการศึกษา ๒๕๓๔ คณะนักเรียนทั้งพระภิกษุและสามเณร เริ่มลงมือก่อสร้างอาคารเรียนพระปริยัติธรรมแห่งใหม่ โดยจัดสร้างเป็นอาคารชั่วคราวชั้นเดียว หลังคาและผนังกั้นด้วยใบจาก จำนวน ๑๒ หลัง หลังจากที่สามเณรสอบบาลีสนามหลวงเสร็จแล้ว ก็ทุ่มเทกำลังการ กำลังใจสร้างอาคารเรียนของตนเอง ออกแบบเอง ถางหญ้า ขุดดิน ทำถนน ฯลฯ ด้วยความมุมานะบากบั่นทำงานก่อนสร้างเท่าที่จะทำได้ ทั้งกลางวันและกลางคืนจนแล้วเสร็จทันในวันอันเป็นมหามงคล คือวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔ อันเป็นวาระคล้ายวันเกิดของ พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี หลวงพ่อธัมมชโย จึงทำพิธีโรงเรียนเพื่อบูชาคุณ บูชาธรรมแด่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ผู้วางรากฐานความรู้คู่คุณธรรม

จากนั้นพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโว รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้ปฏิบัติหน้าที่แทนหลวงพ่อธัมมชโยมาเป็นประธานในพิธีเปิด และได้ให้โอวาทแก่นักเรียน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นสามเณร มีใจความเป็นที่ประทับใจว่า... "อาคารเรียนของเราแม้เป็นหลังคามุงจาก แต่ของให้ลูกๆ ตั้งความสำคัญอยู่ที่ว่า ๑.ตัวเราตั้งใจเรียนไหม? ๒.มีตำรับตำราที่ดีไหม? ๓.ได้ครูบาอาจารย์ที่ดีหรือเปล่า? ถ้าได้ครบอย่างนี้โบราณเข้าเรียกว่า กระทะ ๓ หู ตัวของเราตั้งใจเรียนดี ตำรับตำราดี และอาจารย์เคี่ยวเข็ญให้อย่างดี ถ้ามีครบถ้วนบริบูรณ์อย่างนี้ ก็สามารถจะประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาได้อย่างแน่นอน"

จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ จึงเริ่มสร้างอาคารถาวร ๖ หลังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็ฯอาคารคอนกรีต เสร็จสมบูรณ์ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๗

Icon

หลักสูตรที่เปิดสอน

  1. ภาษาบาลี, บาลีสาธิต และบาลีศึกษา
  2. นักธรรมชั้นตรี,โท,เอก, ธรรมศึกษาชั้นตรี,โท,เอก
  3. อภิธรรมบัณฑิต, อภิธรรมศึกษา
  4. ภาษาต่างประเทศได้แก่ ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเกาหลี, ภาษาสเปน, และภาษาฝรั่งเศส

ผลิตสื่อธรรมะ และผลงานทางด้านวิชาการ

  1. หนังสือเรียนนักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท ฉบับรวมเล่ม
  2. หนังสือเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ธรรมศึกษาชั้นโท ฉบับรวมเล่ม
  3. หนังสือบาลีฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี) สำหรับนักเรียนบาลีแต่ละประโยค
  4. สื่อซีดีและดีวีดี (CD&DVD) สำหรับนักเรียนบาลี ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงประโยค ๙ มีทั้งวิชาไวยากรณ์, หลักการแปล, หลักสัมพันธ์ ฯลฯ
  5. ตำราและสื่ออื่นๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงอีกจำนวนมาก

ผลงานและความภาคภูมใจ

 

สรุปผลการสอบบาลี ระหว่างปี ๒๕๒๗ - ปัจจุบัน

ชั้น ป.ธ.๑-๒ ป.ธ.๓ ป.ธ.๔ ป.ธ.๕ ป.ธ.๖ ป.ธ.๗ ป.ธ.๘ ป.ธ.๙ ยอดรวม อันดับ
ปี พ.ศ. สอบได้ สอบได้ สอบได้ สอบได้ สอบได้ สอบได้ สอบได้ สอบได้ สอบได้ ประเทศ
2527 2               2  
2528                    
2529 2 1             3  
2530 1 1 1           3  
2531 5 1   1         7  
2532 5 7     1       13  
2533 31 3 2     1     37  
2534 40 19 1 2     1   63  
2535 76 27 13 1 2       120 1
2536 14 28 25 14   1     82 3
2537 12 14 17 21 9 1     74 3
2538 23 26 16 14 14 8 1   102 1
2539 13 7 17 8 24 8 2   79 5
2540 31 7 7 5 7 9 4 2 72 3
2541 35 8 4 12 2 18 1 4 84 1
2542 25 21 9 8 11 4 13 1 92 1
2543 54 15 17 8 6 5 5 6 116 1
2544 49 52 14 14 6 7 7 6 155 1
2545 33 30 14 6 10 3 1 0 97 2
2546 94 33 42 13 8 9 10 1 210 1
2547 87 52 20 26 10 5 4 9 213 1
2548 60 53 31 16 21 12 6 8 207 1
2549 60 41 25 24 7 9 6 2 174 2
2550 40 37 30 16 17 9 9 4 162 2
2551 56 43 15 25 12 10 8 5 174 2
2552 42 30 28 11 14 8 6 2 141 3
2553 52 18 5 10 9 10 2 4 110 2
2554 55 40 22 8 7 4 3 2 131 1
2555 70 36 26 13 7 11 5 6 174 1
2556 91 32 32 18 5 4 4 2 188 1
2557 89 93 23 19 16 3 4 1 248 1
2558 54 72 50 15 20 7 3 3 224 1
รวม 1291 847 506 328 245 166 105 69 3557  

 

  1. สอบบาลีได้มากที่สุดเป็นอันดับ ๑ ของประเทศมาแล้ว ๑๑ ครั้ง โดยเฉพาะในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้ทำลายสถิติของประเทศไทยโดยการสอบได้ ๑๕๕ รูป และสถิติสูงสุดในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ด้วยจำนวน ๒๑๓ รูป
  2. สอบบาลีเปรียญเอก (ป.ธ.๗-ป.ธ.๙)ได้มากที่สุดของประเทศ ๑๑ ปี และติดต่อกัน ๖ ปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงปี พ.ศ.๒๕๔๕ (๒๕๔๖ อันดับ๒),๒๕๔๗,๒๕๔๘,๒๕๔๙,๒๕๕๐ และ พ.ศ.๒๕๕๕
  3. สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้มากที่สุดของประเทศ ๕ ปี คือ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑, พ.ศ. ๒๕๔๓, พ.ศ. ๒๕๔๔, พ.ศ. ๒๕๔๗, และ พ.ศ. ๒๕๔๘ และมีสถิติพระภิกษุสามเณรสอบบาลีสนามหลวงเปรียญธรรม ๙ ประโยคสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ คือ ๙ รูป

Search





40845709
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
17080
22053
182857
40477143
64012
832722
40845709

Your IP: 3.140.198.43
2024-05-03 17:54
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search