พุทธศาสนสุภาษิต

อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท

 

อปฺปมตฺตา    สตีมนฺโต             สุสีลา   โหถ   ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา                   สจิตฺตมนุรกฺขถ. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม   ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน.

                                                                                                                                                     ทีฆนิกาย    มหาวรรค


อปฺปมาทรตา     โหถ              สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา   อุทฺธรถตฺตานํ              ปงฺเก   สนฺโนว   กุญฺชโร.

ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน  จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่นถอนตนขึ้นฉะนั้น.

                                                                                                                                                      ขุททกนิกาย   ธรรมบท


อปฺปมาทรโต    ภิกฺขุ               ปมาเท   ภยทสฺสิ   วา
สญฺโญชนํ   อณุํ   ถูลํ              ฑหํ    อคฺคีว    คจฺฉติ.

ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท   หรือเห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น.

                                                                                                                                   ขุททกนิกาย    ธรรมบท


อปฺปมาทรโต   ภิกฺขุ                ปมาเท    ภยทสฺสิ   วา
อภพฺโพ   ปริหานาย                 นิพฺพานสฺเสว   สนฺติเก.

ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม (ชื่อว่า)อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว.

                                                                                                                                                     ขุททกนิกาย   ธรรมบท


เอวํวิหารี   สโต    อปฺปมตฺโต
ภิกฺขุ   จรํ   หิตฺวา   มมายิตานิ
ชาติชรํ    โสกปริทฺทวญฺจ
อิเธว    วิทฺวา   ปชเหยฺย    ทุกฺขํ.

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้.

                                                                                                                                             ขุททกนิกาย   จูฬนิเทส


อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน                 สญฺญเมน   ทเมน   จ
ทีปํ   กยิราถ  เมธาวี                ยํ   โอโฆ  นาภีกีรติ.

คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะ ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ.

                                                                                                                                                ขุททกนิกาย    ธรรมบท


จิตตวรรค คือ หมวดจิต

อนวสฺสุตจิตฺตสฺส                    อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส                  นตฺถิ   ชาครโต   ภยํ.

ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย

                                                                                                                                                        ขุททกนิกาย    ธรรมบท


กุมฺภูปมํ   กายมิมํ    วิทิตฺวา
นครูปมํ   จิตฺตมิทํ   ถเกตฺวา
โยเธถ    มารํ    ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ   รกฺเข   อนิเวสโน   สิยา.

บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้   ไม่พึงยับยั้งอยู่. 

ขุททกนิกาย    ธรรมบท


จิตฺเตน    นียติ    โลโก             จิตฺเตน     ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส    เอกธมฺมสฺส             สพฺเพว     วสมนฺวคู.

โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป     สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว.

                                                                                                                                            สังยุตตนิกาย   สคาถวรรค


ตณฺหาธิปนฺนา   วตฺตสีลพทฺธา
ลูขํ     ตปํ     วสฺสสตํ     จรนฺตา
จิตฺตญฺจ   เนสํ   น   สมฺมา  วิมุตฺตํ
หีนตฺตรูปา    น   ปารงฺคมา    เต.

ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะอันเศร้าหมองตั้งร้อยปี     จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้     เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้.

                                                                                                                                                  สังยุตตนิกาย   สคาถวรรค


ทุนฺนิคฺคหสฺส   ลหุโน             ยตฺถ    กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส  ทมโก   สาธุ              จิตฺตํ   ทนฺตํ   สุขาวหํ.

การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี      (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.

                                                                                                                   (พุุทฺธ)     ขุททกนิกาย    ธรรมบท


ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส   น   ผาติ   โหติ
น   จาปิ   นํ    เทวตา   ปูชยนฺติ
โย   ภาตรํ   เปตฺติกํ   สาปเตยฺยํ
อวญฺจยี      ทุกฺกฏกมฺมการี.

ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่ ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา.

                                                                                                                             ขุททกนิกาย    ชาดก   ติกนิบาต


ภิกฺขุ    สิยา   ฌายิ   วิมุตฺตจิตฺโต
อากงฺเข    เว   หทยสฺสานุปตฺตึ
โลกสฺส     ญตฺวา   อุทยพฺพยญฺจ
สุเจตโส   อนิสฺสิโต   ตทานิสํโส.

ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิดและความเสื่อมแห่งโลกแล้ว มีใจดี ไม่ถูกกิเลสอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์ พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้.

                                                                                                                                ขุททกนิกาย    ธรรมบท


โย    อลีเนน   จิตฺเตน            อลีนมนโส  นโร
ภาเวติ    กุสลํ   ธมฺมํ             โยคกฺเขมสฺส  ปตฺติยา
ปาปุเณ   อนุปุพฺเพน              สพฺพสํโยชนกฺขยํ.

คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้.

                                                                                                                             ขุททกนิกาย    ชาดก     เอกนิบาต


สุทุทฺทสํ    สุนิปุณํ           ยตฺถ    กามนิปาตินํ
จิตฺตํ  รกฺเขถ   เมธาวี        จิตฺตํ    คุตฺตํ   สุขาวหํ.

ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.

                                                                                                                             ขุททกนิกาย    ธรรมบท


 ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม

อตฺถงฺคตสฺส    น     ปมาณมตฺถิ
เยน  นํ   วชฺชุ    ตํ   ตสฺส  นตฺถิ
สพฺเพสุ      ธมฺเมสุ     สมูหเตสุ
สมูหตา    วาทปถาปิ    สพฺเพ.

ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ     จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี    เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง (ว่าผู้นั้นเป็นอะไร) ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด.

                                                                                                                                ขุททกนิกาย    จูฬนิเทส


อาทานตณฺหํ     วินเยถ    สพฺพํ
อุทฺธํ    อโธ    ติริยํ    วาปิ   มชฺเฌ
ยํ   ยํ   หิ   โลกสฺมึ   อุปาทิยนฺติ
เตเนว   มาโร   อนฺเวติ    ชนฺตุ.

พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ.

                                                                                                                                                ขุททกนิกาย    จูฬนิเทส


อุจฺฉินฺท      สิเนหมตฺตโน
กุมุทํ    สารทิกํว    ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว     พฺรูหย
นิพฺพานํ    สุคเตน     เทสิตํ.

จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ว จงเพิ่มพูนทางสงบ(ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว.

                                                                                                                              ขุททกนิกาย    ธรรมบท


โอวเทยฺยานุสาเสยฺย                   อสพฺภา   จ   นิวารเย
สตํ  หิ   โส  ปิโย   โหติ             อสตํ   โหติ   อปฺปิโย.

บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี.

                                                                                                                           ขุททกนิกาย    ธรรมบท


กาเมสุ     พฺรหฺมจริยวา           วีตตณฺโห    สทา    สโต
สงฺขาย  นิพฺพุโต   ภิกฺขุ            ตสฺส   โน   สนฺติ   อิญฺชิตา.

ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว.

                                                                                              ขุททกนิกาย    จูฬนิเทส


ขตฺติโย   จ   อธมฺมฏฺโฐ              เวสฺโส    จาธมฺมนิสฺสิโต
เต   ปริจฺจชฺชุโภ   โลเก               อุปปชฺชนฺติ     ทุคฺคตึ.

กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม และแพศย์ (คนสามัญ) ไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง ๒ นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ.

                                                                                                                                ขุททกนิกาย    ชาดก   ปัญจนิบาต


คตทฺธิโน    วิโสกสฺส              วิปฺปมุตฺตสฺส   สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส                ปริฬาโห   น    วิชฺชติ.

ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลสเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน.

                                                                                                                              ขุททกนิกาย    ธรรมบท


จเช    ธนํ   องฺควรสฺส   เหตุ
องฺคํ   จเช    ชีวิตํ    รกฺขมาโน
องฺคํ   ธนํ    ชีวิตญฺจาปิ   สพฺพํ
จเช    นโร    ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.

พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ    เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ       เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง.

                                                                                                           ขุททกนิกาย    ชาดก   อิสีตินิบาต


ฉนฺทชาโต      อนกฺขาเต              มนสา   จ    ผุโฐ   สิยา
กาเม   จ   อปฏิพทฺธจิตฺโต             อุทฺธํโสโตติ     วุจฺจติ.

พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่าผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน.

                                                                                                                                           ขุททกนิกาย    ธรรมบท


ชิฆจฺฉา    ปรมา   โรคา               สงฺขารา    ปรมา    ทุกฺขา
เอตํ     ญตฺวา    ยถาภูตํ              นิพฺพานํ      ปรมํ     สุขํ.

ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง.

                                                                                                                                       ขุททกนิกาย    ธรรมบท


ชีรนฺติ   เว   ราชรถา    สุจิตฺตา
อโถ     สรีรมฺปิ    ชรํ    อุเปติ
สตญฺจ   ธมฺโม   น  ชรํ  อุเปติ
สนฺโต  หเว    สพฺภิ   ปเวทยนฺติ.

ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้.

                                                                                                                               สังยุตตนิกาย   สคาถวรรค


เต   ฌายิโน   สาตติกา            นิจฺจํ    ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ   ธีรา   นิพฺพานํ             โยคกฺเขมํ      อนุตฺตรํ.

ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ย่อมถูกต้องพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.

                                                                                                                                                ขุททกนิกาย    ธรรมบท


ทุกฺขเมว   หิ     สมฺโภติ                ทุกฺขํ    ติฏฺฐติ     เวติ     จ
นาญฺญตฺร   ทุกฺขา   สมฺโภติ           นาญฺญตฺร   ทุกฺขา   นิรุชฺฌติ.

ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ.

                                                                                                                                      ขุททกนิกาย   มหานิเทส


ธมฺโม   ปโถ    มหาราช              อธมฺโม   ปน    อุปฺปโถ
อธมฺโม      นิรยํ     เนติ              ธมฺโม     ปาเปติ    สุคตึ.

มหาราช! ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสวรรค์.

                                                                                                           ขุททกนิกาย    ชาดก   สัฏฐินิบาต


นนฺทิสญฺโญชโน    โลโก             วิตกฺกสฺส    วิจารณา
ตณฺหาย      วิปฺปหาเนน                นิพฺพานํ    อิติ    วุจฺจติ.

สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไปท่านเรียกว่านิพพาน เพราะละตัณหาได้.

                                                                                                                                                ขุททกนิกาย    จูฬนิเทส


นาญฺญตฺร    โพชฺฌาตปสา          นาญฺญตฺร    อินฺทฺริยสํวรา
นาญฺญตฺร   สพฺพนิสฺสคฺคา          โสตฺถึ    ปสฺสามิ    ปาณินํ.

เรา(ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง.

                                                                                                                                สังยุตตนิกาย   สคาถวรรค


ปญฺจกฺขนฺธา     ปริญฺญาตา           ติฏฺฐนฺติ     ฉินฺนมูลกา
ทุกฺขกฺขโย       อนุปฺปตฺโต             นตฺถิทานิ     ปุนพฺภโว.

เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพต่อไปอีก.

                                                                                                                              ขุททกนิกาย  เถรคาถา


ปตฺตา  เต  นิพฺพานํ  เย  ยุตฺตา                 ทสพลสฺส    ปาวจเน
อปฺโปสฺสุกฺกา     ฆเฏนฺติ                         ชาติมรณปฺปหานาย.

ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน.

                                                                                                                      ขุททกนิกาย   เถรีคาถา


 พหุสฺสุตํ       อุปาเสยฺย             สุตญฺจ     น    วินาสเย
ตํ   มูลํ   พฺรหฺมจริยสฺส             ตสฺสา    ธมฺมธโร    สิยา.

พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะนั้นเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ควรเป็นผู้ทรงธรรม.

                                                                                                                                       ขุททกนิกาย  เถรคาถา


มคฺคานฏฺฐงฺคิโก    เสฏฺโฐ               สจฺจานํ    จตุโร    ปทา
วิราโค   เสฏฺโฐ     ธมฺมานํ                ทิปทานญฺจ จกฺขุมา.

บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด     บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐสุด    บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐสุด      และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด.

                                                                                                                                ขุททกนิกาย    ธรรมบท


ยตฺถ    นามญฺจ      รูปญฺจ           อเสสํ       อุปรุชฺฌติ
วิญฺญาณสฺส      นิโรเธน              เอตฺเถตํ      อุปรุชฺฌติ.

นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด นามและรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ.

                                                                                                                                ขุททกนิกาย    จูฬนิเทส


ยมฺหิ   สจฺจญฺจ   ธมฺโม              อหึสา   สญฺญโม    ทโม
เอตทริยา     เสวนฺติ                  เอตํ    โลเก     อนามตํ.

สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก.

                                                                                                                ขุททกนิกาย      ชาดก     ทุกนิบาต


ยานิ   โสตานิ    โลกสฺมึ                สติ    เตสํ      นิวารณํ
โสตานํ    สํวรํ       พฺรูมิ                 ปญฺญาเยเต   ปิถิยฺยเร.

กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา.

                                                                                                                                ขุททกนิกาย    จูฬนิเทส


เย   สนฺตจิตฺตา   นิปกา             สติมนฺโต   จ   ฌายิโน
สมฺมา  ธมฺมํ   วิปสฺสนฺติ           กาเมสุ    อนเปกฺขิโน.

ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ.

                                                                                                                                ขุททกนิกาย    อิติวุตตกะ


โย   จ   ปปญฺจํ  หิตฺวาน              นิปฺปปญฺจปเท    รโต
อาราธยิ   โส   นิพฺพานํ                โยคกฺเขมํ     อนุตฺตรํ.

ผู้ใดละปปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรมที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

                                                                                                                                อังฺคุตตรนิกาย  ฉักกนิบาต


สกํ   หิ    ธมฺมํ   ปริปุณฺณมาหุ
อญฺญสฺส   ธมฺมํ   ปน  หีนมาหุ
เอวมฺปิ   วิคฺคยฺห   วิวาทยนฺติ
สกํ   สกํ    สมฺมติมาหุ   สจฺจํ.

สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์     แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง)      เขาย่อมทะเลาะวิวาทกันแม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมติของตน ๆ ว่าเป็นจริง.

                                                                                                                                                ขุททกนิกาย   มหานิบาต


สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน             สติปฏฺฐานโคจโร
วิมุตฺติกุสุมสญฺฉนฺโน               ปรินิพฺพายิสฺสตฺยนาสโว.

ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดาดาษด้วยดอกไม้คือวิมุตติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน.

                                                                                                                                                ขุททกนิกาย   เถรคาถา


สุสุขํ    วต    นิพฺพานํ               สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
อโสกํ     วิรชํ     เขมํ                ยตฺถ   ทุกฺขํ    นิรุชฺฌติ.

พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศกปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ.

                                                                                                            ขุททกนิกาย   เถรคาถา


โสรจฺจํ อวิหึสา จ                     ปาทา นาคสฺส เต ทุเว
สติ จ สมฺปชญฺญญฺจ                จรณา นาคสฺส เต ปเร.

โสรัจจะและอวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติและสัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า.

                                                                                                                                                ขุททกนิกาย   เถรคาถา


หีนํ   ธมฺมํ   น    เสเวยฺย               ปมาเทน   น    สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐึ   น     เสเวยฺย               น   สิยา    โลกวฑฺฒโน.

ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก.

                                                                                   ขุททกนิกาย  ธรรมบท


หีเนน   พฺรหฺมจริเยน              ขตฺติเย    อุปปชฺชติ
มชฺฌิเมน   จ    เทวตฺตํ              อุตฺตเมน    วิสุชฺฌติ.

บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว    ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง       ย่อมบริสุทธิ์ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง.

                                                                                                                                ขุททกนิกาย   ชาดก  มหานิบาต


วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร

โกสชฺชํ   ภยโต    ทิสฺวา         วิริยารมฺภญฺจ     เขมโต
อารทฺธวิริยา    โหถ                  เอสา     พุทฺธานุสาสนี.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี.

                                                                                                                                                ขุททกนิกาย    จริยาปิฎก


ตุมฺเหหิ    กิจฺจํ    อาตปฺปํ           อกฺขาตาโร    ตถาคตา
ปฏิปนฺนา     ปโมกฺขนฺติ             ฌายิโน    มารพนฺธนา.

ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร.

                                                                                              ขุททกนิกาย  ธรรมบท


นิทฺทํ    ตนฺทึ     วิชิมฺหิตํ           อรตึ     ภตฺตสมฺมทํ
วิริเยน   นํ    ปณาเมตฺวา              อริยมคฺโค    วิสุชฺฌติ.

อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร.

                                                                                                                                                สังยุตตนิกาย   สคาถวรรค


โย   จ   วสฺสสตํ     ชีเว             กุสีโต     หีนวีริโย
เอกาหํ   ชีวิตํ    เสยฺโย              วิริยํ   อารภโต    ทฬฺหํ.

ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น.

                                                                                            ขุททกนิกาย  ธรรมบท


สพฺพทา   สีลสมฺปนฺโน             ปญฺญวา    สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย    ปหิตตฺโต          โอฆํ    ตรติ     ทุตฺตรํ.

ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว ปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก.

                                                                                                                                                สังยุตตนิกาย   สคาถวรรค


สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี

วิวาทํ    ภยโต    ทิสฺวา            อวิวาทญฺจ    เขมโต
สมคฺคา   สขิลา    โหถ            เอสา    พุทฺธานุสาสนี.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพียง มีความประนีประนอมกันเถิด    นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี.

                                                                                                                                                ขุททกนิกาย     จริยาปิฎก


สามคฺยเมว     สิกฺเขถ             พุทฺเธเหตํ       ปสํสิตํ
สามคฺยรโต   ธมฺมฏฺโฐ             โยคกฺเขมา   น    ธํสติ.

พึงศึกษาความสามัคคี    ความสามัคคี ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว    ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ.

                                                                                                             ขุททกนิกาย    ชาดก    เตรสนิบาต


สุขา    สงฺฆสฺส    สามคฺคี            สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต      ธมฺมฏฺโฐ               โยคกฺเขมา   น    ธํสติ.

ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ.

                                                                                                ขุททกนิกาย    อิติวุตตกะ


 

Leave a comment

You are commenting as guest.


49553453
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
12614
74778
128470
49159770
693103
1074106
49553453

Your IP: 182.232.27.27
2025-01-21 10:58
© Copyright pariyat.com 2025. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search