นักเรียนได้ศึกษาวจีวิภาครู้จักส่วนแห่งคำพูดแล้วควรศึกษาให้รู้จักวิธีประกอบคำพูดเข้าเป็นพากย์เพื่อเป็นประโยชน์ในการพูดหรือแต่งหนังสือซึ่งแสดงความให้ผู้อื่นเข้าใจ เหมือนนายช่างผู้ฉลาดรู้จักปรุงทัพพสัมภาระให้เป็นเรือน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้จะอยู่ ฉะนั้น วิธีประกอบคำพูดเข้าเป็นพากย์นั้น เรียกว่าวากยสัมพันธ์ ฯ
๑. ศัพท์เดียวหรือหลายศัพท์ แต่ยังผสมให้เป็นใจความไม่ได้เรียกว่า บท กำหนดตามวิภัตตินามจะกี่ศัพท์ก็ตามนับวิภัตติละบท ๆ เช่น ปุตฺโต เป็นบทหนึ่ง มาตาปิตเรสุ เป็นบทหนึ่ง เป็นตัวอย่าง.
๒. หลายบทผสมให้เป็นใจความได้ แต่ยังเป็นตอน ๆ ไม่เต็มที่เรียกว่า พากยางค์มี ๓ อย่าง คือ
(นาม) กุลสฺส ปุตฺโต,
(คุณ) ปิโย ปุตฺโต,
(กิริยา) ปุตฺโต มาตาปิตเรสุ สมฺมา ปฏิปชฺชนฺโต เป็นตัวอย่าง. ตอนหนึ่ง ๆ นับเป็นพากยางค์หนึ่ง ๆ.
๓. หลายบทหรือหลายพากยางค์ ผสมให้เป็นใจความได้เต็มที่เรียกว่า พากย์ เช่น ปุตฺโต มาตาปิตเรสุ สมฺมา ปฏิปชฺชนฺโต ปสํสํ ลภติ เป็นตัวอย่าง. ตอนมีกิริยาอาขยาตหนึ่ง ๆ นับเป็นพากย์หนึ่ง ๆ.
การศึกษาวิธีประกอบคำพูดเข้าเป็นพากย์มี ๒ ทาง คือกำหนดพากย์ที่เรียงไว้แล้วให้รู้ว่า บทไหนเข้ากับบทไหน ซึ่งเรียกว่าสัมพันธ์ ทาง ๑ เรียนผูกคำพูดให้เป็นพากย์เองให้ต้องตามแบบอย่าง ทาง ๑ ใน ๒ ทางนั้น ควรเรียนทางสัมพันธ์ให้เห็นเป็นตัวอย่างไว้ก่อนแล้ว จึงเรียนแต่งเอง เช่นนี้ การศึกษาจะได้สะดวกดี.
แบบสัมพันธ์ (ชื่อสัมพันธ์)
-ต้องท่องจำ-
วิธีสัมพันธ์
บททั้งหลายในพากยางค์ก็ดี ในพากย์ก็ดี ย่อมมีความเนื่องถึงกันสิ้น.
การเรียนให้รู้จักว่า บทไหนเนื่องกับบทไหน เรียกว่าเรียนสัมพันธ์.
การแสดงวิธีสัมพันธ์นั้นมีใจความสำคัญอยู่ก็เพียงให้รู้จักการเนื่องกันของบทเหล่านั้นอย่างเดียว จะรู้จักชื่อสังเขปหรือพิสดารไม่เป็นประมาณนัก แม้ในคัมภีร์โยชนาพระวินัยและพระอภิธรรมก็ใช้บอกชื่ออย่างสังเขป ในที่นี้จะดำเนินตามอย่างนั้นบ้าง.
ตัวอย่าง
สตฺถา อิมํ อตีตํ ทสฺเสตฺวา เอวเมส อตีเตปิ ตุมฺเห วิปฺปฏิสาริโนอกาสิเยวาติ เต ภิกฺขู สญฺญาเปตฺวาอุปนนฺทํ ครหนฺโต ภิกฺขเว ปรํ โอวทนฺเตน นาม ปฐมเมว อตฺตา ปฏิรูเป ปติฏฺฐาเปตพฺโพติ วตฺวา อิมํ คาถมาห(ภาค ๖ น.๗)
สตฺถา สยกตฺตา ใน อาห ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก อิมํ วิเสสน ของ อตีตํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน ทสฺเสตฺวา ๆ ปริโยสานกาลกิริยา ใน วตฺวา เป็นต้น
-----------
ใน เป็นคำเชื่อมสัมพันธ์ โดยทั่วไป
ของเป็นคำเชื่อมสัมพันธ์ใช้กับแบบสัมพันธ์คือวิเสสน ๑ สญฺญาวิเสสน ๑ อพฺภนฺตรกิริยา (ที่เข้ากับนาม)๑ วิเสสลาภี๑ เช่น วิเสสน ของ อพฺภนฺตรกิริยา ของ เป็นต้น
----------
เอโส วิเสสน ของ อุปปนฺโท ๆ สยกตฺตา ใน อกาสิ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก เอวํ ศัพท์ กิริยาวิเสสน ใน อกาสิ ปิ ศัพท์ อเปกฺขตฺถ เข้ากับ อตีเต ๆ กาลสตฺตมี ใน อกาสิ ตุมฺเห อวุตฺตกมฺม ใน อกาสิ วิปฺปฏิสาริโน วิกติกมฺม ใน อกาสิ เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ อกาสิ อิติ ศัพท์ อาการ ใน วตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน สญฺญาเปตฺวา เต วิเสสน ของ ภิกฺขู ๆ การิตกมฺม ใน สญฺญาเปตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน ครหนฺโต อุปนนฺทํ อวุตฺตกมฺม ใน ครหนฺโต ๆ อพฺภนฺตรกิริยา ของ สตฺถา ภิกฺขเว อาลปน
----------
จะเห็นได้ว่า คำว่า ใน เป็นคำเชื่อมแบบสัมพันธ์โดยทั่วไป หากนักเรียนยังไม่ทราบว่า แบบสัมพันธ์บทนี้ ใช้คำเชื่อมว่าอะไร ก็ใช้คำว่า ใน ไปก่อน
คำเชื่อมสัมพันธ์อีกคำ คำว่า เข้ากับ ใช้ในกรณี ศัพท์นิบาต เข้ากับนาม คุณนาม กิริยา บทเดียวบ้าง หลายบทบ้าง หลายประโยคบ้าง ตามแต่เรื่อง เช่น อตีเตปิ ปิ ศัพท์ อเปกฺขตฺถ เข้ากับ อตีเต , อกาสิเยว เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ อกาสิ เป็นตัวอย่าง
----------
อตฺตา วุตฺตกมฺม ใน ปติฏฺฐาเปตพฺโพ ปุคฺคเลน อนภิหิตกตฺตา ใน ปติฏฺฐาเปตพฺโพ ๆ กิตบท เหตุกมฺมวาจก ปรํ วิเสสน ของ ปุคฺคลํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน โอวทนฺเตน นาม ศัพท์ สญฺญาโชตก เข้ากับ โอวทนฺเตน ๆ วิเสสน ของ ปุคฺคเลน เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ ปฐมํ ๆ กิริยาวิเสสน ใน ปติฏฺฐาเปตพฺโพ ปฏิรูเป วิเสสน ของ คุเณ ๆ อาธาร ใน ปติฏฺฐาเปตพฺโพ อิติ ศัพท์ อาการ ใน วตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน อาห อิมํ วิเสสน ของ คาถํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน อาห
----------
ในการสอบสนามหลวง มีลำดับการสัมพันธ์คล้ายลำดับหลักการแปล คือ
๑ อาลปน
๒ นิบาตต้นข้อความ
๓ กาลสัตตมี (เฉพาะที่เข้ากับมุขยกิริยา)
๔ ประธาน(หากมีบทขยายไม่ยาวมากจะสัมพันธ์ก่อนก็ได้)
๕ กิริยาคุมพากย์
๖ ศัพท์และบทที่เหลือ เรียกชื่อสัมพันธ์ไปตามลำดับให้นักเรียนดูตัวอย่างต่อไป
อตฺตานํ หิ ตตฺถ อนิเวเสตฺวา เกวลํ ปรเมว อนุสาสมาโน ปรโต นินฺทํ ลภิตฺวา กิลิสฺสติ นาม ฯ (ภาค ๖ น.๗)
หิ ศัพท์ ผลโชตก ปุคฺคโล สยกตฺตา ใน กิลิสฺสติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก อตฺตานํ การิตกมฺม ใน อนิเวเสตฺวา ตตฺถ วิเสสน ของ คุเณ ๆ อาธาร ใน อนิเวเสตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน อนุสาสมาโน เกวลํ กิริยาวิเสสน ใน อนุสาสมาโน เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ ปรํ ๆ วิเสสน ของ ปุคฺคลํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน อนุสาสมาโน ๆ อพฺภนฺตรกิริยา ของ ปุคฺคโล ปรโต วิเสสน ของ ปุคฺคลโต ๆ อปทาน ใน ลภิตฺวา นินฺทํ อวุตฺตกมฺม ใน ลภิตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน กิลิสฺสติ นาม ศัพท์ สญฺญาโชตก เข้ากับ กิลิสฺสติ ฯ
---------
การสัมพันธ์ทิ้ง(สัมพันธ์ปล่อย )คือ การสัมพันธ์ที่จบที่ตัวเอง ไม่มีการเชื่อมโยงกับใคร เช่น หิ ศัพท์ ผลโชตก เป็นต้น หลักๆจะเป็นนิบาต ให้นักเรียนดูตัวอย่างต่อไป
----------
เอกทิวสํ หิ เทวทตฺโต สงฺฆเภทาย ปริสกฺกนฺโต อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ ปิณฺฑาย จรนฺตํ ทิสฺวา อตฺตโน อธิปฺปายํ อาโรเจสิ ฯ ตํ สุตฺวา เถโร สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา ภควนฺตํ เอตทโวจ อิธาหํ ภนฺเต ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย ราชคหํ ปิณฺฑาย ปาวิสึ อทฺทสา โข มํ ภนฺเต เทวทตฺโต ราชคเห ปิณฺฑาย จรนฺตํ ทิสฺวาน เยนาหํ เตนุปสงฺกมิ(ภาค ๖ หน้า ๒๐)
หิ ศัพท์ สงฺฺเขปโชตก เอกทิวสํ กาลสตฺตมี ใน อาโรเจสิ เทวทตฺโต สยกตฺตา ใน อาโรเจสิ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก สงฺฆเภทาย สมฺปทาน ใน ปริสกฺกนฺโต ๆ อพฺภนฺตรกิริยา ของ เทวทตฺโต อายสฺมนฺตํ วิเสสน ของ อานนฺทํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน ทิสฺวา ปิณฺฑาย สมฺปทาน ใน จรนฺตํ ๆ วิเสสน ของ อานนฺทํ ทิสฺวา ปุพฺพกาลกิริยา ใน อาโรเจสิ อตฺตโน ภาวาทิสมฺพนฺธ ใน อธิปฺปายํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน อาโรเจสิ ฯ
---------
หิ ศัพท์ สงฺเขปโชตก สัมพันธ์ทิ้ง
เราจะเห็นว่า มีคำว่า ศัพท์ซึ่งคำว่า ศัพท์ จะใช้ในกรณีศัพท์ที่ไม่ได้ประกอบวิภัตติ ทั้งนามและกิริยา เป็นประเภทศัพท์ นิบาต เช่น หิ ศัพท์ นาม ศัพท์ เป็นต้น
---------
เถโร สยกตฺตา ใน อโวจ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ตํ วิเสสน ของ วจนํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน สุตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน คนฺตฺวา สตฺถุ สามีสมฺพนฺธ ใน สนฺติกํ ๆ สมฺปาปุณิยกมฺม ใน คนฺตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน อโวจ ภควนฺตํ อกถิตกมฺม ใน อโวจ เอตํ วิเสสน ของ วจนํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน อโวจ ภนฺเต อาลปน อหํ สยกตฺตา ใน ปาวิสึ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก อิธ วิเสสน ของ เวฬุวเน ๆ วิสยาธาร ใน นิวาเสตฺวา ปุพฺพณฺหสมยํ กาลสตฺตมี ใน นิวาเสตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน อาทาย ปตฺตจีวรํ อวุตฺตกมฺม ใน อาทาย ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน ปาวิสึ ราชคหํ สมฺปาปุณิยกมฺม ใน ปาวิสึ ปิณฺฑาย สมฺปทาน ใน ปาวิสึ ภนฺเต อาลปน เทวทตฺโต สยกตฺตา ใน อทฺทสา ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก โข ศัพท์ วจนาลงฺการ มํ อวุตฺตกมฺม ใน อทฺทสา ราชคเห อาธาร ใน จรนฺตํ ปิณฺฑาย สมฺปทาน ใน จรนฺตํ ๆ วิเสสน ของ มํ โส วิเสสน ของ เทวทตฺโต ๆ สยกตฺตา อุปสงฺกมิ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ทิสฺวาน ปริโยสานกาลกิริยา ใน อุปสงฺกมิ อหํ สยกตฺตา ใน วสามิ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก เยน วิเสสน ของ ทิสาภาเคน ๆ ตติยาวิเสสน ใน วสามิ เตน วิเสสน ของ ทิสาภาเคน ๆ ตติยาวิเสสน ใน อุปสงฺกมิ
-----------
ภนฺเต อาลปน สัมพันธ์ทิ้ง
โข ศัพท์ วจนาลงฺการ สัมพันธ์ทิ้ง จะเห็นได้ว่า นอกจากศัพท์นิบาต แล้ว ศัพท์อาลปนะก็สัมพันธ์ทิ้งด้วยเพราะไม่เข้ากับใคร ให้นักเรียนดูตัวอย่างต่อไป
-----------
ยํ ปน กตตฺตา อตฺตโน หิตญฺจ อนวชฺชตฺเถน สาธุญฺจ สุคติสํวตฺตนิกญฺเจว นิพฺพานสํวตฺตนิกญฺจ กมฺมํ ตํ ปาจีนนินฺนาย คงฺคาย อุพฺพตฺเตตฺวา ปจฺฉามุขกรณํ วิย อติทุกฺกรนฺติ ฯ(ภาค๖ หน้า ๒๐)
ปน ศัพท์ ปกฺขนฺตรโชตก ยํ วิเสสน ของ กมฺมํ ๆ สยกตฺตา ใน โหติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก กตตฺตา เหตุ ใน หิตํ อตฺตโน สมฺปทาน ใน หิตํ อนวชฺชตฺเถน เหตุ ใน สาธุํหิตํ ก็ดี สาธุํ ก็ดี สุคติสํวตฺตนิกํ ก็ดี นิพฺพานสํวตฺตนิกํ ก็ดี วิกติกตฺตา ใน โหติ เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ จ ๆ สี่ศัพท์ ปทสมุจฺจยตฺถ เข้ากับ กตตฺตา อตฺตโน หิตํ อนวชฺชตฺเถน สาธุํ สุคติสํวตฺตนิกํ และ นิพฺพานสํวตฺตนิกํ กตตฺตา อตฺตโน หิตญฺจ อนวชฺชตฺเถน สาธุํ จ วิวริย ใน สุคติสํวตฺตนิกํ เจว นิพฺพานสํวตฺตนิกํ จ ๆ วิวรณ
----------
จะเห็นว่า มีคำว่า ก็ดี คำนี้ใช้ในกรณี ศัพท์หรือบท ที่มีชื่อเรียกสัมพันธ์เหมือนกัน จะเรียกชื่อสัมพันธ์ที่ละคำก็จะยืดยาวไป ถือว่าเป็นการรวบความก็ได้ เช่น หิตํ ก็ดี สาธุํ ก็ดี สุคติสํวตฺตนิกํ ก็ดี นิพฺพานสํวตฺตนิกํ ก็ดี วิกติกตฺตา
----------
ตํ วิเสสน ของ กมฺมํ ๆ สยกตฺตา ใน โหติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ปาจีนนินฺนาย วิเสสน ของ คงฺคาย ๆ ฉฏฺฐีการิตกมฺม ใน อุพฺพตฺเตตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน -กรณํ ปจฺฉามุขกรณํ อุปมาลิงฺคตฺถ วิย ศัพท์ อุปมาโชตก เข้ากับ ปาจีนนินฺนาย คงฺคาย อุพฺพตฺเตตฺวา ปจฺฉามุขกรณํ อติทุกฺกรํ วิกติกตฺตา ใน โหติ อิติ ศัพท์ สรูป ใน อตฺโถ ฯ
-----------
ปจฺฉามุขกรณํ อุปมาลิงฺคตฺถ สัมพันธ์ทิ้ง เท่าที่นักเรียนศึกษาผ่านมา จะเห็นได้พอสรุปว่า สัมพันธ์ทิ้ง มีในชื่อเรียกสัมพันธ์ดังนี้
๑ ลิงฺคตฺถ อุปมาลิงฺคตฺถ
๒ อาลปน
๓ นิบาต (ต้นข้อความ บอกคำถาม เป็นต้น)
และจะมีแสดงอีกต่อไป
----------
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710