อุปสัคนำหน้าธาตุ

๑. อรรถอุปสัค ๒๐ ตัว

อติ    ยิ่ง, เกิน, ล่วง, แรง
อธิ    ยิ่ง, ใหญ่, ทับ, ข้างบน, ครอบงำ, สวด, อธิษฐาน, ตัดสิน, ถึง
อนุ    น้อย, ภายหลัง, ตาม, ไม่ขาดสาย, แรง, เหมือนกัน, ส่วน, กล่าวซ้ำ
อป    ปราศ, หลีก, ติเตียน, บูชา, ประทุษร้าย
อปิ    หรือ ปิใกล้, บน, มองหา, รวบรวม, ติเตียน, คำถาม
อภิ    ยิ่ง, ใหญ่, จำเพาะ, ข้างหน้า, พิเศษ, เหมาะสม, กราบไหว้
อว หรือ โอ   ลง, แยกจากกัน, รู้, บริสุทธิ์, ตัดสิน, สถานที่, การลักขโมย
อา    ทั่ว, ยิ่ง, กลับความ, เขตแดน, ถึง, ปรารถนา, เริ่มต้น, กอด, ถือเอา, ใกล้, เรียก
อุ      ขึ้น, นอก, ประเสริฐ, พลัดพราก, เกิดขึ้น, ได้สภาพ, ความสามารถ, สวด
อุป    เข้าไป, ใกล้, มั่น, กล่าวโทษ, ชื่อ, กระทำข้างหน้า, การบูชา
ทุ     ชั่ว, ยาก, ไม่มี, น่าเกลียด, ผิดปกติ
นิ หรือ นี   เข้า, ลง (ออก,ห้าม)
นิ      เข้า, ลง, ไม่มี, ออก, ห้าม, ตัดสิน, เปรียบเทียบ, จบ, ละเอียด
ป      ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก, ประการ, แยก, ใส, ปรารถนา
ปติ หรือ ปฏิ     เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ, เหมือนกัน, ถือเอา, รู้ตลอด, อาศัย
ปรา    กลับความ, ที่อยู่, ความพยายาม, จับต้อง
ปริ     รอบ, กำหนด, เว้น, กอด, นุ่ง, บูชา, การให้บริโภค, ดูหมิ่น, กล่าวโทษ
วิ       วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, ตรงกันข้าม, ปราศจาก, แยกจากกัน, ผิดปกติ
สํ       ดี, งาม, ง่าย, การต่อ, การย่อ, เสมอกัน, ร่วมกัน, เบื้องแรก, รวบรวม, ปิด, บริบูรณ์
สุ       ดี, งาม, ง่าย, ด้วยดี, บริบูรณ์ (ศึกษาเพิ่มเติมรูปสิทธิทีปนี หน้า ๕๐๐ )


 ๒. อำนาจอุปสัคแปลงตัวเองได้ 

อติ   แปลงเป็น อจฺจ เช่น อจฺเจติ ย่อมไปล่วง อธิ   แปลงเป็น อชฺฌ เช่น อชฺโฌหรติ ย่อมกลืนกิน

อนุ แปลงเป็น อว (อุ ที่ นุ เป็น อว) เช่น อเนฺวติ ย่อมหมุนไปตาม

อภิ แปลงเป็น อพฺภ เช่น อพฺภุคฺคจฺฉติ ย่อมพุ่งขึ้น,เหาะ

ปฏิ (ปติ) แปลงเป็น ปจฺจ เช่น ปจฺเจติ ย่อมกลับถึง

ปริ แปลงเป็น ปลิ(ร ที่ ริ เป็น ลิ) เช่น ปลิโพโธ ความกังวล

ปลิพุทฺธ (ต ปัจจัย) อัน....กีดขวางแล้ว แปลงเป็น ปยิเช่น ปยิรุปาสติ
ย่อมนั่งใกล้ สลับที่ ร กับ ย อาคม ศัพท์เดิมเป็น ปริยุปาสติ(สัท.สุต.๑๕๔)

สํ แปลงเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคทั้ง ๕ คือ งฺ ญฺ ณฺ นฺ ม
เช่น ส แปลงเป็น ญฺ สญฺจรติ ย่อมเที่ยวไปพร้อม

ข้อควรจำพิเศษเกี่ยวกับ นิ,ทุ อุปสัค

นิ เข้า,ลง นิยมนำหน้ากิริยา ไม่ซ้อนพยัญชนะ หรือลง ร อาคม

เช่น นิ – กุชฺฌติ ย่อมงอ = นิกุชฺฌติ ย่อมงอเข้า

นิ – ทหติ ย่อมตั้ง = นิทหติ ย่อมตั้งลง

นิ ไม่มี,ออก นิยมนำหน้าทั้งนามและกิริยา ซ้อนพยัญชนะ หรือลง ร อาคม เช่น

นิ – อนฺตราโย อันตราย = นิรนฺตราโย ไม่มีอันตราย

นิ – กฑฺฒติ ย่อมฉุด = นิกฺกฑฺฒติ ย่อมฉุดออก

ถ้าศัพท์หลังเป็น ร,ห ทีฆะ นิ เป็น นี เช่น นิ – รโส

รส = นีรโส ไม่มีรส

นิ – หรณํ = นีหรณํ นำออก

ทุ อุปสัคเมื่อนำหน้าบทอื่นมีความนิยม ดังนี้

ถ้าพยัญชนะวรรคอยู่หลัง นิยมลงพยัญชนะสังโยค (ซ้อน) เช่น ทุคฺคโต

ถ้ามีพยัญชนะอวรรคอยู่ข้างหลัง นิยมทีฆะ อุ เป็น อู เช่น ทูวิญฺเญยฺโย

ถ้ามีสระอยูหลัง นิยมลง ร อาคม เช่น ทุราวาสา,ทุรติกฺกมํ


๓. อำนาจของอุปสัคนำหน้ากิริยาศัพท์

     อุปสัคเมื่อำาหน้ากิริยาศัพท์แล้ว ย่อมทำความหมายเนื้อความเดิม ของธาตุให้มีความหมายต่าง ๆ จำแนกได้ ๓ พวก ดังนี้

๑. อุปสัคเบียดเบียนธาตุคือ ส่งเสริมเนื้อความเดิมของธาตุให้เพิ่มเนื้อความ มากขึ้น เช่น กโรติ ย่อมทำ เพิ่ม ทุ เป็น ทุกฺกโรติ ย่อมทำชั่ว คจฺฉติ ย่อมไป เพิ่ม อนุ เป็น อนุคจฺฉติ ย่อมไปตาม เป็นต้น

๒. อุปสัคคล้อยตามธาตุ คือ ไม่ส่งเสริมเนื้อความเดิมของธาตุให้เปลี่ยนไปเพียง แต่ลงเพื่อความสละสลวยเท่านั้น เช่น นสฺสติ ย่อมฉิบหาย เพิ่ม วิ เป็น วินสฺสติ ย่อมฉิบหาย
ยุตฺตํ ประกอบแล้ว เพิ่ม นิ เป็น นิยุตฺตํ ประกอบแล้ว เป็นต้น

๓. อุปสัคสังหารธาตุ คือ ส่งเสริมเนื้อความเดิมของธาตุ ให้แปลกใหม่ หรือ เปลี่ยนความหมายไป เช่น คจฺฉติ ย่อมไป เพิ่ม อา เป็น อาคจฺฉติ ย่อมมา ชินาติ ย่อมชนะ เพิ่ม ปรา เป็น ปราชยติ ย่อมแพ้ เป็นต้น


๔. อุปสัคเบียดเบียนธาตุและอุปสัคสังหารธาตุประกอบกับธาตุ ๘ หมวด ดังนี้

๑. หมวด ภู ธาตุ ลง อ,เอ ปัจจัย

อนุ - ภู = เสวย,อำนวย (อนุโภติ)

อภิ - ภู = ครอบง า,ข่มขี่ (อภิภวติ)

ปริ - ภู = อบรม,ดอง,ดูหมิ่น (ปริภวติ)

วิ - ภู = เสื่อม,ฉิบหาย,ไม่มี (วิภวติ)

สํ - ภู = เจริญ,ยกย่อง,สรรเสริญ,เกิด (สมฺภวติ)

ปรา - ภู = ฉิบหาย,เสื่อม (ปราภวติ)

นิ - สี = อาศัย,พึ่งพิง (นิสฺสยติ)

วิ - ปจฺ = เผล็ดผล,สุกงอม (วิปจฺจติ)

อว - อิกฺขฺ = พิจารณา,ดูลง (อเวกฺขติ)

ปฏิ + อว – อิกฺขฺ = พิจารณาเห็น (ปจฺจเวกฺขติ)

ปฏิ – สํ – อิกฺขฺ = พิจารณา (ปฏิสญฺจิกฺขติ)

อุป + ปริ –อิกฺขฺ = ใคร่ครวญ,พิจารณา (อุปปริกฺขติ)

อป –อิกฺขฺ = เพ่ง,หวัง (อเปกฺขติ)

อุป – อิกฺขฺ = เพ่งเล็ง,วางเฉย (อุเปกฺขติ,อุเปกฺขา)

อุป - ลภฺ = เข้าไปได้,ค้นคว้า,หา (อุปลพฺภติ,อุปลภติ)

อธิ - คมฺ = ถึงทับ,บรรลุ,ได้รับ (อธิคจฺฉติ)

นิ - คมฺ = ถึง,บรรลุ,ได้,ก้าวออก,เปล่งออก (นิคฺคจฺฉติ)

อนุ - คมฺ = ไปตาม,ไปส่ง (อนุคจฺฉติ)

อา - คมฺ = มา (อาคจฺฉติ)

อุ - คมฺ = ขึ้นไป (อุคฺคจฺฉติ)

ปฏิ + อุ - คมฺ = ต้อนรับ (ปจฺจุคฺคจฉติ,ปจฺจุคฺคมนํ )

อภิ + อุ - คมฺ = พุ่งขึ้น,เหาะ,กระจายไป (อพฺภุคฺคจฺฉติ)

อุป - คมฺ = เข้าไปใกล้,เข้าไปหา (อุปคจฺฉติ)

ปฏิ + อา - คมฺ = กลับมา (ปจฺจาคจฺฉติ,ปฏิคจฺฉติ = กลับไป)

วิ - คมฺ = ไปปราศ,ปราศจาก (วิคจฺฉติ,วิคตต ปัจจัย)

อป –คมฺ = จากไป,หลีกไป (อปคจฺฉติ,อปคโต ต ปัจจัย)

สํ - คมฺ = ไปพร้อม,ร่วมกัน,อยู่ร่วมกัน,สงคาม
(สงฺคจฺฉติ,สงฺคาเมติ,สงฺคาโม ธ. ๘/๙๗)

สํ + อา - คมฺ = มาพร้อม,คบหา,สมาคม (สมาคจฺฉติ)

สํ + อนุ + อา - คมฺ = มาตามพร้อม,ประกอบ (สมนฺนาคจฺฉติ,สมนฺนาคต)

แปลง สํ นิคคหิต เป็น มฺ พฤทธิ์ อุ ที่ อนุ เป็น โอ แปลง โอ เป็น อว

แปลง ว เป็น น ติ วัตตมานา สำเร็จรูปเป็น สมนฺนาคจฺฉติ

๒. หมวด รุธฺ ธาตุ ลง ลง อ,เอ ปัจจัย

ถ้าแปลเป็นอกรรมธาตุไม่ต้องลงนิคคหิตอาคมต้นธาตุ
แต่ลง ย ปัจจัยในหมวด ทิวฺ แทน เช่น สตฺตธา ภิชฺชติ แตกโดย ๗ ส่วน
ถ้าแปลเป็นสกรรมธาตุต้องลงนิคคหิตอาคมต้นธาตุด้วย
เช่น สาลํ ภินฺทติ ทำลายซึ่งศาลา

วิ - รุธฺ = ยินร้าย,เสียใจ,โกรธ,ดับ,ผิด (วิรุชฺฌติ)

นิ - รุธฺ = ดับโดยไม่เหลือ (นิรุชฺฌติ)

อนุ - รุธฺ = ยินดี (อนุรุชฺฌติ)

อธิ - มุจฺ = หลุด,พ้น,น้อมใจทับ,อธิฐาน,สิง (อธิมุจฺจติ,อธิมุตฺต ต ปัจจัย)

วิ - มุจฺ = เปลื้อง,ปกป้อง,ป้องกัน (วิโมเจติ,วิมุญฺจติ)

อา - ภุชฺ = ผูกใจ,ตั้งใจ,อธิฐาน (อาภุญฺชติ,อาโภโค)

อุป - ภุชฺ = เข้าไปกิน,ใช้สอย (อุปภุญฺชติ)

ปริ - ภุชฺ = บริโภค,ใช้สอย (ปริภุญฺชติ)

สํ - ภุชฺ = กินร่วม,คบหา (สมฺภุญฺชติ)

สํ - ภิทฺ = เจือปน,ระคน (สมฺภินฺทติ)

ปริ – ภิทฺ = ยุยง,ทำลายรอบ (ปริภินฺทติ)

อา - ลิปฺ = ฉาบทาทั่ว,พอก(แผล),เผา (อาลิมฺปติ)

อุป –ลิปฺ = แปดเปื้อน,เข้าไปฉาบ,ประพรม (อุปลิมฺปติ)

วิ - ลิปฺ = ไล้ทาของหอม (วิเลปติ,อนุลิมฺปติ = ทาตาม)

๓. หมวด ทิวฺ ธาตุ ลง ย ปัจจัย

ย + ว = พฺพ ย + ธ = ชฺฌ ย + ห = ยฺห ย + ส = สฺส

ย + จ = จฺจ ย + ท = ชฺช ย + ช = ชฺช ฯ ล ฯ

ธาตุตัวเดียว ลง ย ปัจจัย ได้บ้าง เช่น ขียติ เป็นต้น

สำ - สิวฺ = เย็บพร้อม,เกี่ยว (สํ สิพฺพติ)

ปริ - สิวฺ = เย็บรอบ,ประสาน (ปริสิพฺพติ)

อา - สิวฺ = เสพ,คบ (อาเสวติ)

อว - พุธฺ = หยั่งรู้ (อวพุชฺฌติ)

วิ - รชฺ = เบื่อหน่าย,คลายก าหนัด,สำรอก (วิรชฺชติ)

๔. หมวด สุ ธาตุ ลง ณุ,ณา ปัจจัย (แปลง อุ ที่ ณุ เป็น โอ)

 

อนุ - สุ = ฟังตาม,สวด,ประกาศ (อนุสฺสวติลง อ ปัจจัย)

อภิ - สุ = ช าระ (อภิสุโณติ)

อว – สุ = อันราคะ...ชุ่ม,ครอบง า,กำหนัด (อวสฺสุต ต ปัจจัย)

ป - สุ = ขวนขวาย (ปสุต ต ปัจจัย)

ป-สุ = ประสูติ,เกิด (ปสูต ต ปัจจัย)

ปฏิ - สุ = ยอมรับ,ตอบรับ,รับคำ (ปฏิสฺสุณาติ,ปฏิสฺสุณิตฺวา,ปฏิสฺสโว)

สํ - วุ = ระวัง,สำรวม (สํวุโณติ,สํวุต ต ปัจจัย)

๕. หมวด กี ธาตุ ลง นา ปัจจัย

วิ - กี = ขาย,จำหน่าย,แลกเปลี่ยน (วิกฺกีนาติ)

(สำเร็จรูปเป็น วิกฺกีณา ซ้อน กฺ แปลง นา เป็น ณา)

ปรา - ชิ = แพ้,พ่ายแพ้,ปราชัย (ปราชยติ,ปราชโย)

ปริ - จิ = คุ้นเคย,อบรม,ดอง (ปริจินาติ)

อุ – จิ = เลือกเอา (อุจฺจินาติ)

วิ – จิ = ตรวจดู,ค้นหา,เลือกเอา (วิจินาติ)

อนุ - ญา = รู้ตาม,ยินยอม,อนุญาต (อนุชานาติ,อนุญฺญาต ต ปัจจัย)

ปฏิ - ญา = รับ,ปฏิญญา,สารภาพ (ปฏิชานาติ)

ป – ญา = ปรากฏ (ปญฺญายติ ลง ย ปัจจัย,ปญฺญาณํ )

๖. หมวด คหฺ ธาตุ ลง ณฺหา ปัจจัย

 

คหฺ - ณฺหา = คณฺห เมื่อนำไปประกอบกับอุปสัค

นิยมซ้อน คฺ เช่น ปฏิคฺคณฺหติเป็นต้น อนึ่ง คหฺ ธาตุ

เมื่อลง ณฺหา ปัจจัย และประกอบกับวิภัตติอาขยาต หมวดวัตตมานา

และปัญจมีมีรูปเป็น คณฺหาติก็ได้ คณฺหติก็ได้คณฺหาตุก็ได้ คณฺหตุก็ได้

อนุ - คหฺ = ถือเอาตาม,เกื้อกูล,อนุเคราะห์ (อนุคฺคณฺหาติ)

อธิ - คหฺ = ถือเอายิ่ง,ได้,บรรลุ (อธิคณฺหาติ)

อุ - คหฺ = เรียนเอา,เก็บไว้,จำได้ (อุคฺคณฺหาติ)

นิ - คหฺ = ข่ม,ข่มขี่,ลงโทษ,ทำโทษ,ถูกปราบ (นิคฺคณฺหาติ)

ป - คหฺ = ประคับประคอง,ยกย่อง,อุดหนุน (ปคฺคณฺหาติ)

วิ - คหฺ = แยก,แก่งแย่ง,วิเคราะห์ (วิคฺคณฺหาติ)

ปริ - คหฺ = ถือเอารอบ,รักษา,หวงแหน,กำหนดจับ,ถือเอา (ปริคฺคณฺหาติ)

สํ- คหฺ = ถือเอาพร้อม,รวบรวม,สงเคราะห์,รวบรัด,ย่อความ,เกลี้ยกล่อม(สงฺคณฺหาติ)

๗. หมวด ตนฺ ธาตุ ลง โอ ปัจจัย

ธาตุที่ประกอบ โอ ปัจจัย เมื่อนำไปประกอบวิภัตติ

อาขยาตตั้งแต่ สัตตมี เป็นต้นไป ลบ โอ ปัจจัยเสีย

เช่น กเรยฺย,กรึสุ,กริสฺสติเป็นต้น

อติ - กรฺ = ทำยิ่ง,ล่วงเกิน,ทำเกินไป (อติกฺกโรติ)

อธิ – กรฺ = กระทำยิ่ง,แม่งาน,ระงับ,คดี (อธิกต ต ปัจจัย,อธิกาโร,อธิกรณํ )

อนุ - กรฺ = ทำตาม,เอาอย่าง (อนุกโรติ)

อุป - กรฺ = เข้าไปทำ,เกื้อกูล (อุปกโรติ,อุปกาโร)

ปฏิ - กรฺ = ทำคืน,รักษาแผล,สมานแผล, (ปฏิกฺกโรติ,วณปฏิกมฺมํ )

โอ - สกฺกฺ = เสื่อมถอย,ท้อถอย (โอสกฺโกติ)

ปริ - สกฺกฺ = ตะเกี่ยกตะกาย,พยายาม,ขวนขวาย (ปริสกฺกติ ลง อ ปัจจัย)

ปฏิ – สกฺกฺ = ถอยกลับ,วิ่งกลับ (ปฏิสกฺกติลง อ ปัจจัย)

๘. หมวด จุรฺ ธาตุ ลง เณ,ณย ปัจจัย

ปริ + วิ - ตกฺกฺ = ไตร่ตรอง,ตรึกโดยรอบ,กลุ้มใจ (ปริวิตกฺเกติ)

อา - มนฺตฺ = เรียกมา (อามนฺเตติ)

นิ - มนตฺ = เชื้อเชิญ,นิมนต์ (นิมนฺเตติ)

วิ - จินฺต = คิดผิด,งดงาม (วิจินฺเตติ,วิจิตฺต คุณนาม)


อ่าน/PDF

  • Author: เอกพจน์
  • Hits: 9156





 


45613945
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
5229
40295
45524
45235495
272997
1019588
45613945

Your IP: 35.171.164.77
2024-10-07 03:29
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search