อธิบายศัพท์ สนฺธาวิสฺสํ + อนิพฺพิสํ (ปฐมพระพุทธพจน์)

ปฐมพระพุทธพจน์

 

     เนื่องจากพระคาถานี้ ซึ่งเป็นพระคาถาแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดง อีกทั้งยังมีศัพท์ที่น่าสนใจ ที่ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนเก่าหรือใหม่ ก็มักจะสะดุดใจกับศัพท์ๆ นี้ ดังรายละเอียดต่อไป

อเนกชาติสํสารํ          สนธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการํ คเวสนฺโต       ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ       ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา       ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ        ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา

(ธมฺมปทฏฺฐกถา ๕/๑๑๕-๑๑๖)

 

อธิบาย

สนฺธาวิสฺสํ + อนิพฺพิสํ

 

สนฺธาวิสฺสํ
อึ อัช. แปลงเป็น อิสฺสํ ได้บ้าง (สัททนีติปกรณ์ สุตมาลา สูตรที่ ๑๑๐๓) เช่น
   สนฺธาวิสฺสํ = สํ+ธาวฺ+อ ปัจ.+อึ อัช.แปลง อึ เป็น อิสฺสํ,  = แปลว่า อ.เรา ท่องเที่ยวไปแล้ว
หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ
    สนฺธาวิสฺสํ = สํ+ธาวฺ+อ ปัจ.+อํ อัช. ลง ส อาคม ซ้อน สฺ ลง อิ อาคมด้วย, แปลว่า อ.เรา ท่องเที่ยวไปแล้ว
    จุดสังเกต คือ ที่ สนฺธาวิสฺสํ เป็น อึ, อํ หมวด อัช. เพราะว่า แก้อรรถ ก็แก้เป็นหมวด อัช. เช่นกัน คือ
    ...สนฺธาวิสฺสํ สํสรึ อปราปรํ อนุวิจรินฺติ อตฺโถฯ...(ธบ.5/116 นับลง บรรทัดที่ 7-8)
อีกนัยหนึ่ง
   หากจะแปลว่า "จัก" ก็ได้ เช่นกัน แต่จะไม่ใช่หมวด อัช. แต่เป็นหมวด ภวิสฺสนฺติ แทน แปลว่า อ.เรา จักท่องเที่ยวไป (รูปฯ ๔๕๗.)

 

อนิพฺพิสํ (อนิพฺพิสนฺต)
= น+นิ+วิสฺ ธาตุในความเข้าไป แปลง วิ เป็น พิ ซ้อน พฺ+ อนฺต ปัจ.
= นำ อนิพฺพิสนฺต ไปแจกอย่าง ภวนฺต (ผู้เจริญ) จึงเป็น อนิพฺพิสํ (ปฐมาวิภัตติ เอก.)

  • Author: supanat
  • Hits: 5753





 


45610993
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2277
40295
42572
45235495
270045
1019588
45610993

Your IP: 35.171.164.77
2024-10-07 01:37
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search